กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคลินิกบริการเพื่อประชาชน
รหัสโครงการ 61-L3360-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหูแร่
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 62,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุรพลทองบุญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.556,100.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในยุคปัจจุบันประชาชนมีช่องทางการรับรู้ข่าวสารต่างๆได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น ดังนั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการให้มีคุณภาพ ดูดีและเหมาะสมเป็นที่รองรับการดูแลสุภาพของผู้ที่มารับบริการเราควรมีแนวทางในการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในการยกระดับหน่วยบริการให้มีมาตรฐานถัดเทียมกับหน่วยบริการอื่นๆ “มาตรฐาน 5 ดาว” ที่มุ่งเน้นการสร้างสุขภาวะของคนในชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ โดยหลักการใช้ทรัพยากรร่วมกันในพื้นที่อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชมโดยร่วมกันทำงานเป็นทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ เป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิและเป็นศูนย์กลางในการดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย จึงได้เขียนโครงการนี้ขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาคลินิกบริการต่างๆ ในหน่วยบริการให้ดูมีคุณภาพเหมาะสมตามมาตรฐานการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับ 5 ดาว ต่อผู้มารับบริการเป็นการส่งมอบสิ่งดีๆ ให้ประชาชนที่มารับบริการในพื้นที่ ได้รับความสะดวก สบาย เข้าถึงข้อมูลงานคลินิกต่างๆได้ง่าย ตลอดจนสามารถพัฒนาความรู้เมื่อได้รับการบริการในแต่ละคลินิกของหน่วยบริการ ได้รับการติดตามจากเครือข่ายสุขภาพตามมาตรฐานแนวทางปฏิบัติงานต่างๆของแม่ข่ายโรงพยาบาลพัทลุง ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและเฝ้าระวังโรค “สร้างนำซ่อม” ทั้งโรคติดต่อโรคไม่ติดต่อ/โรคเรื้อรัง หรือโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของชุมชน ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย อีกทั้งเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนแกนนำในชุมชนส่งต่อระดับครอบครัวเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครอบครัวให้หมู่บ้านหรือชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนอย่างแท้จริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาหน่วยบริการ คลินิกโรคไม่ติดต่อ ในการติดตามผลการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิต

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาคลินิก DPACในการจัดการความเสี่ยงเพื่อการเฝ้าระวังโรค

 

0.00
3 เพื่อพัฒนาคลินิกเด็กดีด้วยวัคซีนในการติดตามการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมทีมสุขภาพหน่วยบริการเกี่ยวกับการพัฒนาหน่วยบริการ “มาตรฐาน รพ.สต. 5 ดาว” ตลอดจนเครือข่ายชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อกำหนดแผนงาน มอบหมายกิจกรรม
  2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจต่อผู้มารับบริการตลอดจนเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับมาตรฐานการดูแลสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของหน่วยบริการ การเป็น รพ.สต.ติดดาว

- ทำป้ายจราจรเส้นทางการเดินเข้า/ออกของรถที่เหมาะและปลอดภัย - การป้องกันเฝ้าระวังโรคติดต่อของผู้รับบริการ (กิจกรรมที่มีผู้รับบริการมาก/คลินิกต่าง) - จุดจัดการที่พักขยะติดเชื้อ และขยะอันตรายของชุมชน โดยการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรตลอดจนเครือข่ายสาธารณสุขในการรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม “โมเดลคัดแยกขยะ”เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน เน้นการดูแลอย่างมีส่วนร่วมกันเทศบาลตำบลร่มเมือง - ส่งเสริมความรู้งานควบคุมโรค “โรคติดต่อที่เป็นปัญหาของชุมชน” ในเวทีการประชุมของแต่หมู่บ้าน/ มอบหมายประธานในแต่ละหมู่ร่วมกันดำเนินการคัดกรองโรคติดต่อของพื้นที่ตลอดจนเฝ้าระวังปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน - สร้างโซนเก็บงานพัสดุ ครุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานตามแนวทางฯลฯ - จัดปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ทำเป็นห้องซักล้าง ห้องห่อ-นึ่งเครื่องมือ อุปกรณ์ทำให้ปลอดเชื้อเพื่อผู้มารับบริการหรือทำหัตถการต่างๆให้ได้มาตรฐาน - จัดทำ 5ส. ทำป้ายบอกและเส้นทางการเดินของรถบรรทุกขยะ จุดจอดรถฉุกเฉิน รถผู้พิการ รถเข็นในการเคลื่อนผู้รับริการที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว 4. สร้างจุดคัดกรองและแนวทางการคัดกรองโรคติดต่อในหน่วยบริการโดยเน้นสัญญาณภาษาภาพเพื่อการเข้าได้ง่ายของผู้รับบริการและเน้นการขยายผลต่อในหมู่บ้าน อย่างน้อยหมู่ละ 1 จุด เพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของชุมชน เช่น อุจจาระร่วง ตาแดง ไข้เลือดออกไข้หวัด มือเท้าปาก ฯลฯ
5. สร้างความพึงพอใจต่อผู้รับริการด้วยการทำคิวความรู้คู่คลินิกบริการในแต่ละคลินิกเพื่อความสะดวก เข้าถึงความรู้ในขณะที่รอ 6. คืนข้อมูลกลุ่มที่เสี่ยงจากการคัดกรอง เสี่ยงเบาหวาน เสี่ยงความดันโลหิตสูงและสร้างเครื่องในการติดตามเพื่อพัฒนาคลินิกดีแพคลดเสี่ยง คลินิกโรคเรื้อรัง - คู่มือ DPAC ลดพุง - แนวทางจัดการกลุ่มเสี่ยงความดัน - แนวทางจัดการกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 7. ประสานงานทีมเครือข่ายในการเยี่ยมบ้านร่วมกันในบ้านกลุ่มที่มีปัญหาจากผลการรายงานของ อสม.หรือแกนนำชุมชน 8. สรุปผลความพึงพอใจต่อหน่วยบริการ หรือคลินิกต่างๆ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ความพึงพอใจต่อรูปแบบการคืนข้อมูลโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อของหน่วยบริการในพื้นที่
  2. ผู้รับบริการในคลินิกต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดทักษะ สามารถนำแนวทางในการป้องกันเฝ้าระวังภัยโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อไปใช้ต่อทั้งตนเองและครอบครัวอย่างง่ายได้ถูกต้อง
  3. มีเครือข่ายจิตอาสา เพิ่มขึ้นจากคลินิกต่างๆ มีผลให้ อสม.สะดวกในการดำเนินงานเชิงรุกมากขึ้น ในการเฝ้าระวังภัยโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ การส่งเสริมการรับวัคซีนของกลุ่มเด็ก 0-5 ปี การเข้าถึงการตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการ
  4. เครือข่ายสาธารณสุขในพื้นที่ ประชาชนมีความอบอุ่นใจต่อการพัฒนาระบบมาตรฐาน 5ดาว ของรพ.สต. มีความสะดวกใจในหน่วยบริการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 09:17 น.