กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L3360-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 64,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่
พี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหูแร่
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.556,100.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีทำให้การส่งต่อข้อมูล มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบระดับครัวเรือน ควรมีความรู้และเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของชุมชน เพื่อเป็นที่พี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา สังเกตเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชนสู่ระดับครอบครัว มุ่ง “บอกข่าวร้ายเพื่อเตือนภัยเฝ้าระวังโรคระบาด กระจายข่าวดีต่อชุมชน” ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขจึงควรมีการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดต่อลงสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกัน เฝ้าระวังไม่ให้เกิดการระบาดหรือยกระดับความรุนแรงขึ้น จากข้อมูลงานระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพัทลุงพบว่าโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นตำบลร่มเมือง 7 ลำดับแรก คือ โรคอุจราระร่วง อัตราป่วยต่อแสนประชากร พบ 1323.09 โรคปอดบวมพบ 256.08 ต่อแสนประชากร โรคตาแดงพบ 213.40 ต่อแสนประชากร โรคไข้เลือดออกพบ 213.40 ต่อแสนประชากร โรคไข้หวัดใหญ่พบ 128.04 ต่อแสนประชากร โรคโรคเลปโตสไปโรซิส 85.36 ต่อแสนประชากร โรคมือเท้าปาก 42.68 ต่อแสนประชาชนเพื่อให้รู้ทันสมารถเฝ้าระวังโรคติดต่อของชุมชนได้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเขียนโครงการนี้ขึ้นเพื่อทบทวนความรู้ ความเข้าใจ สร้างเครือข่ายในการรับรู้สถานการณ์โรคติดต่อมุ่งหวังร่วมกันป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อทั้งตนเองและครอบครัวให้ทุกชุมชนในตำบลร่มเมืองน่าอยู่น่าอาศัยเป็นวัฒนธรรมความห่วงใยที่ส่งต่อให้รุ่นถัดไปสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างทันเวลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ ความสำคัญของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อให้สามารถดูแล ป้องกัน เฝ้าระวังโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในชุมชนตนเองได้

 

0.00
3 เพื่อปลูกฝังความรู้สึก การเป็นผู้ให้ มีจิตอาสา ดูแลคนในชุมชนตนเอง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อกำหนดแผนงานกิจกรรม กำหนดบทบาทการทำงาน
  2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนได้รับทราบโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของชุมชน ในเวทีการประชุมของหมู่บ้าน
  4. สร้างจุดคัดกรองและแนวทางการคัดกรองในหมู่บ้าน อย่างน้อยหมู่ละ 1 จุด เพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของชุมชน เช่น อุจจาระร่วง ตาแดง ไข้เลือดออกไข้หวัด มือเท้าปาก ฯลฯ แนวทางคัดกรอง ดังนี้

- ซักประวัติ/ อาการ/ วัดความดัน/ วัดไข้ - ให้สุขศึกษา/สื่อ แนวทางการป้องกันเฝ้าระวังโรค ได้แก่ ชุดโมเดลการจัดการขยะเพื่อป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค เช่น โรคอุจจาร่วง ไข้เลือดออกตาแดง ฯลฯ - บันทึกข้อมูลและส่งต่อหน่วยบริการทันที(กรณีพบผู้ที่มีความเสี่ยง) 5. กำหนดแผนการคัดกรองโรคติดต่อในเวทีการประชุมของหมู่บ้านแจ้งต่อผู้นำชุมชน
6. ให้สุขศึกษาโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของชุมชนตามแนวทางการคัดกรองและสรุปรายงานผลประจำเดือนโดยให้อาสาสมัครทุกคนหมุนเวียนกันปฏิบัติตามแนวทางการคัดกรอง 7. ร่วมในการสำรวจและร่วมกิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เรื่องโรคติดต่อของชุมชนแก่นักเรียนในโรงเรียนวัดโอ่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพในพื้นที่ 8. ให้สุขศึกษาโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของชุมชนตามแนวทางการคัดกรองในตลาดประชารัฐวัฒนธรรมสวนป่านาโอ่ แก่ประชาชนทั่วไป 9. จัดเก็บข้อมูลงานระบาดตามแบบฟอร์มโรคติดต่อปัญหาของชุมชน (เก็บส่งประจำทุกเดือน) 10. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานผลโครงการ ฯลฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ความพึงพอใจต่อรูปแบบการคืนข้อมูลโรคติดต่อของหน่วยบริการในพื้นที่
  2. ผู้เข้ารับการอบรมหรือติดตามเกิดทักษะ สามารถนำแนวทางในการป้องกันเฝ้าระวังภัยโรคติดต่อตนเองและครอบครัวอย่างง่ายได้ถูกต้อง 3.มีจิตอาสา ในการเฝ้าระวังภัยโรคติดต่อ สามารถลดสถานการณ์โรคได้อย่างทันท่วงที
  3. ชุมชนตื่นตัว เป็นการสร้างเครือข่ายให้มีการจัดการตนเองที่ดีขึ้น ในการดูแล ป้องกัน เฝ้าระวังโรคติดต่อโรคติดเชื้อในชุมชน อาทิ อุจจาระร่วง ตาแดง วัณโรค ปอดบวม ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 09:29 น.