กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงกาารแก้ไขปัญหาโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ตำบลบาเระใต้
รหัสโครงการ 61-L6957-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบือเระ
วันที่อนุมัติ 11 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 7,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวนีย์ ปาวัล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.539,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 288 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรกเกิด เด็ก เป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยก่อนเรียนเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ประกอบกับการมีพัฒนาการด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากการมีภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาของเด็กกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดเป้าหมายให้เด็กในวัยก่อนเรียน (แรกเกิด-72 เดือน) มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 78
จากข้อมูลงานการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านบือเระ ประจำงวดที่ 4 ปีงบประมาณ 2560เด็กอายุ 0-72 เดือน จำนวน 288 คน ดำเนินการชั่งน้ำหนักจำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 98.26 พบว่า เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุร้อยละ 74.91 เด็กมีน้ำหนักค่อนข้างน้อย ร้อยละ 13.78 เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 9.54 เด็กน้ำหนักค่อนข้างมากร้อยละ 0. 17 เด็กที่น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ร้อยละ 1.06 และเด็กที่ภาวะโภชนาการสมส่วนร้อยละ 79.15 ซึ่งเด็กอายุ 0-72 เดือน มีน้ำหนักตามเกณฑ์ต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือเระ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กอายุ 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

เด็กอายุ 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

0.00
2 2.เพื่อให้เด็กอายุ 0-72 เดือน มีการเจริญเติบโตน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 78

เด็กอายุ 0-72 เดือน มีการเจริญเติบโตน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 78

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน (ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์) มีความรู้เรื่องโภชนาการ ในการเลี้ยงดูบุตร

ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์สามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างเหมาะสม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14.00 0 0.00
1 มิ.ย. 61 - 1 ก.ค. 61 โครงการแก้ไขปัญหาโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน 0 7.00 -
16 - 20 ก.ค. 61 จัดประชุมอบรมให้ความรู้ 0 7.00 -

1.เฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน 1.1.ชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0-72 เดือน ทุกคนในเขตรับผิดชอบ พร้อมแปรผล (น้ำหนัก/อายุ) และบันทึกผลการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการ 4 ครั้ง/ปี 1.2 ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทุกราย เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินผลในระหว่างการดำเนินงานโดยแม่อาสาประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่บ้านละ 2 คน 1.3 จ่ายอาหารเสริม (นม) แก่เด็กที่ภาวะทุพโภชนาการ 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 6 เดือน โดยให้แม่อาสาประจำหมู่บ้าน(อสม.) และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือเระเป็นผู้รับผิดชอบ 1.4 จ่ายยาถ่ายพยาธิแก่เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ทุก 6 เดือน ทุกราย ในเด็กอายุ 0-72 เดือน
1.5 ให้เด็กภาวะทุพโภชนาการทุกรายพบแพทย์ อย่างน้อยรายละ 1 ครั้ง/ปี 2. ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง 2.1 ให้โภชนาการศึกษาและสาธิตอาหารแก่ผู้ปกครองเด็กเรื่องการให้อาหารเด็ก ตามวัยในสถานบริการละ 1 ครั้ง/ปี 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นความรู้ภาวะทุพโภชนาการแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ0-72ปี 2.3 ติดตามเยี่ยมบ้านให้ความรู้และให้กำลังใจแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 2.4 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้และให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขภาวะทุพโภชนาการและเด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มากกว่า ร้อยละ 78

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 10:28 น.