กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน ประจำปี 2561 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ
รหัสโครงการ 2561-L7572-02-023
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 30,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิชาติ บุญปล้อง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยไทย รวมทั้งเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนไปสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน ซึ่งการบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ได้เข้ามามีบทบาทกับเด็กวัยเรียน เป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งการติดเกมส์ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย เด็กที่เริ่มอ้วนและมีภาวะอ้วนจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยเด็กอ้วนจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน ร้อยละ 25 และ วัยรุ่นอ้วนจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนสูงถึง ร้อยละ 75 นอกจากนั้นเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้มากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น โดยในเด็กอายุ 5 - 17 ปี พบว่าเด็กอ้วนมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดมากกว่าเด็กปกติ โดยมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 2 - 4.5 เท่า และภาวะไขมันในเลือดสูงเพิ่มขึ้น 3 - 7 เท่าส่วนทางด้านจิตใจพบว่าโรคอ้วนทำให้เสียบุคลิกภาพและถูกล้อเลียน จึงทำให้เด็กเกิดปมด้อยและมีความกดดัน เด็กอ้วนบางคนแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน มีปัญหาในการเข้าสังคม นอกจากนั้นในเด็กที่อ้วนรุนแรงจะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เวลานอนจะกรน และอาจมีการหยุดหายใจในขณะหลับเป็นช่วง ๆ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลงเกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อาการเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Pickwickian Syndrome ซึ่งบางคนอาจมีอาการทางไตร่วมด้วย ผลเสียจากการเกิดภาวะดังกล่าว ทำให้เด็กนอนหลับพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ และจะนั่งหลับเมื่อนั่งเรียนหนังสือ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำลง นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเด็กอ้วนที่ป่วยเป็นโรคแทรกซ้อนทำให้ครอบครัวต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังที่เกิดจากโรคอ้วนหลายพันล้านบาทต่อปี จากข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6 – 14 ปี ในปี 2560 ของจังหวัดพัทลุง พบปัญหาด้านภาวะโภชนาการที่สำคัญ คือ มีเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน สูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กำหนดไว้ว่า ตัวชี้วัดของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ ๑๐ แต่ในพื้นที่ของอำเภอเมืองพัทลุงพบเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนถึงร้อยละ 16.64 ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นชุมชนเมืองมากขึ้น การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป การเข้าถึงร้านสะดวกซื้อซึ่งมีอยู่ในชุมชนได้ง่ายทำให้เด็กวัยเรียนมีการบริโภคอาหารที่มากเกินไปโดยเฉพาะอาหารที่มีรสหวาน อาหารไขมันสูง ขนมกรุบกรอบรวมทั้งมีการออกกำลังกายน้อยลงเนื่องจากเด็กใช้เวลาว่างในการเล่นคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เล่นเกมส์ แทนการออกจากบ้านไปเล่นกีฬาหรือกิจกรรมอื่น ๆ จึงทำให้เกิดภาวะไขมันสะสมทำให้เป็นเด็กอ้วนได้ง่าย

โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนในเด็กนักเรียน จึงได้ร่วมมือกับเทศบาลเมืองพัทลุงและ โรงพยาบาลพัทลุง ศูนย์แพทย์ชุมชนเขตเมืองทั้ง 3 ศูนย์จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน เพื่อให้เด็กนักเรียนตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพจากโรคอ้วน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง การดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและผู้ใกล้ชิดในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ตามหลัก 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30
  2. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้นร้อยละ 30
0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กอ้วน

ได้นักเรียนต้นแบบในการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 10

0.00
3 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเด็กอ้วนระดับรุนแรง

กลุ่มเสี่ยงเด็กอ้วนระดับรุนแรงได้รับการคัดกรอง ทุกคน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ตามหลัก 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย)

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสร้างความตระหนักการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กอ้วน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเด็กอ้วนระดับรุนแรง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

15 - 30 มิ.ย. 61 ประชุมชี้แจงผู้ปกครองพร้อมบรรยายวิชาการ 15,100.00 -
15 - 30 มิ.ย. 61 เจาะเลือดนักเรียนกลุ่มเสี่ยงอ้วนระดับรุนแรง 10,200.00 -
15 - 30 มิ.ย. 61 ให้ความรู้ในการติดตามผล 2,500.00 -
15 - 30 มิ.ย. 61 สรุปผลผู้ปกครองและนักเรียน 2,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในกลุ่มผู้ปกครอง และนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
  2. จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 เดือน / 3 เดือน / 6 เดือน
  4. ส่งต่อนักเรียนที่มีความเสี่ยงสูงตามระบบสาธารณสุข
  5. เกิดนักเรียนต้นแบบในการดูแลสุขภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับพฤติกรรมได้ดีขึ้น ด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้น ร้อยละ 50
  2. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90
  3. มีนักเรียนต้นแบบด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านอาหาร / อารมณ์ / ออกกำลังกาย ร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 11:30 น.