กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการคัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวานด้วยพลังเครือข่ายสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L6957-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบือเระ
วันที่อนุมัติ 11 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 34,383.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวนีย์ ปาวัล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.539,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 814 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย คือ เพิ่มขึ้นจาก ๑๓๕ ล้านคน ในปี ค.ศ. ๑๙๙๕ เป็น ๑๕๑ ล้านคน ในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ และคาดว่าจะเป็น ๒๒๑ ล้านคน ในปี ค.ศ. ๒๐๑๐ และ ๓๐๐ ล้านคน ในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ ตามลำดับ (King และคณะ) ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรทุกอายุทั่วโลก พบว่าความชุก ในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ เท่ากับ ๒.๘% และจะเป็น ๔.๔% ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ (Wild และคณะ) ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทย ค.ศ. ๑๙๙๖-๑๙๙๗ พบว่าอัตราความชุก เท่ากับ ๔.๔% การวิจัยซึ่งเก็บข้อมูลจากทุกภาคของประเทศ เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๐ พบว่าอัตราความชุก ของโรคเบาหวานในประชากรทีมีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป เท่ากับ ๙.๖% หรือคิดเป็นจำนวน ๒.๔ ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเพียงครึ่งเดียว (๔.๘%) อีกครึ่งหนึ่งที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน มาก่อน อัตราความชุกของโรคเบาหวานในเมืองสูงกว่าชนบท(National Health Interview and Examination Survey) สถานการณ์ความชุกของโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือเระ ประชาชนป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง(๓,๔๗๔.๓๒ ต่อประชากรแสนคน) ประชาชนป่วยด้วยโรคเบาหวาน(๖๓๔.๔๔ ต่อประชากรแสนคน) การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจากยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเอง และร่วมหารือ และแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง(Hospital-based) ถึงแม้หลาย ๆ โรงพยาบาลจะได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(HPH) ก็ตาม ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ และทีมงานเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก การป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือเระ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการค้นหาและคัดกรองโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มของการเจ็บป่วย อันจะเป็นแนวทางในการวางแผน กำหนดนโยบายในการควบคุม ป้องกัน และลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งประชาชนในกลุ่มเป้าหมายได้เกิดทักษะในการค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรคดังกล่าวในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาคัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

คัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ ๙๕

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยโรคก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยโรคก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน

0.00
3 ให้การรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตามระบบการรักษาครอบคลุมร้อยละ ๑๐๐

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตามระบบได้รับการรักษาครอบคลุมร้อยละ ๑๐๐

0.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ ๒.๔

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34.00 0 0.00
23 ก.ค. 61 การคัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวานด้วยพลังเครือข่ายสุขภาพ 0 34.00 -

๑.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้มีความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน     ๒.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประชากร ๓๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ๓.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน ๔.อบรมฟื้นฟู อสม.ในการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๕.คัดกรองกลุ่มเป้าหมายประชากร ๓๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบโดย อสม. ๖.จัดทำทะเบียนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๗.อบรมกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๘.ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง ๙.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงทุกคน ๒.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยโรคก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ๓.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการรักษาตามระบบครอบคลุมร้อยละ ๑๐๐ ๔.ผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีอัตราลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 11:30 น.