กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี
รหัสโครงการ 61-L6957-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบือเระ
วันที่อนุมัติ 11 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 17,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวนีย์ ปาวัล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.539,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัวผู้หญิงเมื่อตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินการไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างสลับซับซ้อน นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของทางจิตสังคม เช่นบทบาทหน้าที่ภาพลักษณ์และสัมพันธภาพกับครอบครัวเป็นต้นการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กมีเป้าหมายสูงสุดประการหนึ่งคือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ต้องพัฒนาระบบการให้บริการที่ได้มาตรฐานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ รวมถึงขณะคลอดและหลังคลอด ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ การดำเนินงานในเชิงรุกในชุมชน การร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็ก ในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด จากรายงานการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือเระตำบลบ้านบือเระอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในปีงบประมาณ 25๖๐ พบว่า หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบมารับบริการฝากครรภ์ ทั้งหมด จำนวน 59 คน มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ ก่อนหรือเท่ากับ 12สัปดาห์ ร้อยละ ๘๙.๘๓ หญิงหลังคลอดทั้งหมด ๖๔ คน อัตราการมาฝากครรภ์ของหญิงมีครรภ์ทั้งหมดมารับบริการฝากครรภ์ครบ 5ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ ๙๐.๖๒ อัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ ๑๒.๕๐ อัตราการคลอดบุตรน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๖.๒๕ และอัตรามารดาที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีคลอดบุตร ร้อยละ ๓.๑๓ จากข้อมูลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องได้รับการดูแล และแก้ไขปัญหาต่อไป จากข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นการลดปัญหาสุขภาพทุกประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในหญิงขณะตั้งครรภ์ในระหว่างคลอดและหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือเระ ตำบลบาเระใต้อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จึงมีแนวคิดในการพัฒนากระบวนการในการดูแลหญิงมีครรภ์ต้องได้รับการดูแลฝากครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครบ 5ครั้ง หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ก่อน12สัปดาห์ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมีประสิทธิภาพปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และอัตราการคลอดบุตรน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตมารดาและทารกมีสุขภาพดีตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ และหลังคลอด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์

ความครอบคลุมของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ ครบ5ครั้งตามเกณฑ์

ความครอบคลุมของการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

0.00
3 เพื่อพัฒนาแกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถในการแนะนำหญิงตั้งครรภ์

แกนนำ ,อสม.มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ในการดูแลตนเองในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดประชุมแกนนำอนามัยแม่และเด็ก ๒.ให้ความรู้แก่หญิงมีครรภ์และคู่สมรสรายใหม่เป็นรายบุคคลทุกราย 3.อบรมให้ความรู้แก่หญิงมีครรภ์
4.ติดตามการเฝ้าระวังการรับประทานยาโดย อสม. 5.อสม.ค้นหาและนำส่งหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อายุครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ 6.แกนนำอนามัยแม่และเด็กออกติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงและให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว

ขั้นประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน ๑. สรุปผลการดำเนินงานและนำเสนอความครอบคลุมการให้บริการงานอนามัยแม่และเด็กแต่ละงวดเป็นรายหมู่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับความรู้จากการอบรมและสามารถนำมาเป็นทักษะในการดูแลสุขภาพอนามัยได้ 3.หญิงหลังคลอดสามารถดูแลและเลี้ยงบุตรได้อย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 11:50 น.