กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.น้อย ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L3319-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 36,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพักตร์สุดา เรืองวุฒิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.824,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2561 31 ส.ค. 2561 36,050.00
รวมงบประมาณ 36,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลทะเลน้อยเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยแนวโน้มสูงและจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลทะเลน้อย โดยการสำรวจค่า CI และ HI พบว่าในพื้นที่ตำบลทะเลน้อยทั้ง 10 หมู่บ้าน ยังมีค่าสูงอยู่มาก เพราะจาการสำรวจดัชนีความซุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความซุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูง คือ ค่า HI เท่ากับ 47.86 เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการป้องกัน คิดว่าการป้องกันเป็นหน้าที่ของฝ่ายสาธารณสุข ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย จึงตระหนักถึงสาเหตุของปัญหาหากไม่มีการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ถูกต้องทันที จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชนเพิ่มจำนวนขึ้นอีกก็เป็นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกำจัดแหล่งพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน

แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และลูกน้ำยุงลายในชุมชน ลดลง

10.00
2 2. เพื่อให้ อสม.น้อยและประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

อสม.น้อยและประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

50.00
3 3. เพื่อให้ อสม.น้อยเป็นแกนนำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

มี อสม.น้อยเป็นแกนนำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอได้

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36.00 0 0.00
22 ส.ค. 61 อบรมให้ความรู้และรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายทุกหมู่บ้าน 0 36.00 -
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทต./ชุมชน/อสม. และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  2. ประชุมอบรม อสม.น้อย
  3. อสม.น้อย ลงพื้นที่ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  4. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดยุงลายโดยวิธีรณรงค์ให้ชุมชน ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  5. ติดตาม ประเมินผลประจำทุกเดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  2. อสม.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  3. อสม.น้อยเป็นแกนนำในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 13:16 น.