กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2561 หมู่ที่ 2 ตำบลทะเลน้อย
รหัสโครงการ 61-L3319-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม. หมู่ที่ 2 ตำบลทะเลน้อย
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 5,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนุกูล คงดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.824,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ส.ค. 2561 5,200.00
รวมงบประมาณ 5,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูง 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่วนในประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556 – 2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ เห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคความดันโลหิตเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งที่ 3, 4 และ5 (ปี 2547, 2552 และ 2557) พบว่า ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ของครั้งที่ 3 ร้อยละ 7 ใกล้เคียงกับครั้งที่ 4 ร้อยละ 6.9 ส่วนครั้งที่ 5 เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 (คิดเป็น 4.8 ล้านคน) นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2551 ยังพบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคความดันโลหิตสูงเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง รวม 3 ล้านคนต่อปี มารับบริการที่สถานพยาบาลจะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาทต่อปี จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงร้อยละ 3.95 ต่ำกว่าในระดับประเทศ อำเภอควนขนุนมี อัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2558 – 2560ความชุกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5.158, 5.483 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลทะเลน้อย มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 46 คน และจากการคัดกรองปี 2561 มีกลุ่มเสี่ยง จำนวน 65 คน กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 5 คน กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 2 ตำบลทะเลน้อย ได้เล็งความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวที่จะต้องติดตามเฝ้าระวัง จึงได้จัดทำโครงการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการติดตามความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

63.00
2 2. เพื่อลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง

ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงลง ร้อยละ 60

42.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,200.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 61 สำรวจ จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยง 0 5,200.00 -
  1. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
  2. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง
  3. ชี้แจงให้ อสม.ในหมู่บ้านทราบขั้นตอนการติดตาม
  4. ออกปฏิบัติงานในพื้นที่
  5. หลังติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำ แล้วยังมีค่าความดันฯ ตัวบนมากกว่า 140 และ/หรือ ตัวล่างมากกว่า 90 มม.ปรอท รายงานข้อมูลให้ทาง รพ.สต.ทะเลน้อยได้ทราบ
  6. รวบรวมข้อมูล/บันทึกผลงาน
  7. สรุปรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำ ร้อยละ 90
  2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 60
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 15:26 น.