โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก |
รหัสโครงการ | 61-L1497-2-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อสม. ตำบลนาโยงใต้ |
วันที่อนุมัติ | 22 มิถุนายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2561 - 31 กรกฎาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 14 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 11,119.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวรรณดี สุขมาก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.571,99.669place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2561 | 31 ก.ค. 2561 | 11,119.00 | |||
รวมงบประมาณ | 11,119.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 268 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส กลุ่มที่อยู่ในลำไส้ของคน มีหลายสายพันธุ์ โรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุตํ่ากว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ การติดต่อของโรค ติดต่อได้โดยการกินเชื้อ ผ่านเข้าปากโดยตรง จากมือที่เปื้อนนํ้ามูก นํ้าลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือ ผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือนํ้าในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจาย จากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย มีระยะฟักตัว 3-5 วัน การเกิดโรคมีลักษณะเกิดแบบกระจัดกระจาย หรือระบาดเป็นครั้งคราว การระบาดมักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มเด็ก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อยู่กันอย่างแออัด ถ้ามีการระบาดเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีโอกาส ที่จะแพร่ไปสู่เด็กที่มีอายุมากขึ้น จนถึงวัยรุ่น และความรุนแรงของโรคก็จะเพิ่มมากขึ้น โรคนี้พบน้อยในผู้ใหญ่ แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจติดเชื้อได้ง่าย โรคนี้เป็นคนละโรค กับโรคเท้าและปาก ซึ่งเกิดกับวัว แกะ แม้จะเกิดจากไวรัส เหมือนกันก็ตาม จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560 สถานการณ์จังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560 มีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 644 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 100.66 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อำเภอเมืองตรัง มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 144 ราย อัตราป่วย 91.16 ต่อประชากรแสนคน ส่วนตำบลนาโยงใต้ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 4 ราย อัตราป่วย 87.73 ต่อประชากรแสนคน มีแนวโน้มการระบาดของโรค เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน แก้ไขปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ชมรม อสม.) ตำบลนาโยงใต้ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคมือ เท้า ปาก ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก
|
50.00 | |
2 | 2.เพื่อให้สถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปาก
|
50.00 | |
3 | 3.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก
|
100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 7.00 | 3 | 11,119.00 | -11,112.00 | |
20 มิ.ย. 61 | 1. จัดทำสื่อไวนิล ประชาสัมพันธ์โรคมือเท้าปาก | 0 | 0.00 | ✔ | 3,600.00 | -3,600.00 | |
30 มิ.ย. 61 | 3.จัดซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับทำความสะอาดพื้นอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับเด็ก | 0 | 3.00 | ✔ | 3,049.00 | -3,046.00 | |
20 ก.ค. 61 | 2.อบรมถ่ายทอดความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก | 0 | 4.00 | ✔ | 4,470.00 | -4,466.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 7.00 | 3 | 11,119.00 | -11,112.00 |
1.เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 2.จัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์ เรื่อง โรค มือ เท้า ปาก 3.จัดซื้อน้ำยาฆ่าเชื้อ สำหรับทำความสะอาด ห้องเรียน และ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ โรงเรียน พร้อม สบู่เหลวล้างมือ 4.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ปกครอง / ผู้ดูแลเด็ก ครูอนามัยโรงเรียน 5.ทำการสอบสวนโรค และเฝ้าระวังการระบาดของโรค เมื่อพบผู้ป่วยในชุมชน 6.รายงานผลการดำเนินงาน
1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก 2.สถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเมือเท้าปาก 3.อัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 15:43 น.