กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายยืดชีวิต พิชิตโรค
รหัสโครงการ 61-L1497-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 28,730.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิไล จันไกร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ก.ค. 2561 28,730.00
รวมงบประมาณ 28,730.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัย สะดวกสบายมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคน  ในปัจจุบันเปลี่ยนไป ประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลง  ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และปัจจุบันนี้ปัญหาโรคไม่ติดต่อ    เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคที่เป็นปัญหาในชุมชน ๕ อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โดยระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างและภาวะไขมัน  อุดตันในเส้นเลือด ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ สาเหตุหนึ่งของปัญหาดังกล่าว คือประชาชนขาดการออกกำลังกาย และบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ซึ่งหากประชาชนได้บริโภคอาหาร อย่างถูกหลักโภชนาการ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ ประกอบกับตามนโยบาย 5 อ.  ของกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ต้องส่งเสริมให้กับประชาชน    เห็นความสำคัญ และหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจดี นอกจากนี้การออกกำลังกาย ยังก่อให้เกิดประโยชน์ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง           จากความสำคัญดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 1 ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายยืดชีวิตพิชิตโรค ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างร่างกาย  ให้แข็งแรง เสริมสร้างความสามัคคี ของคนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะที่ถูกต้องในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

 

60.00
2 2.เพื่อสร้างกระแสการออกกำลังการด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกาย

 

60.00
3 3.เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตในประชาชน

 

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะที่ถูกต้องในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อสร้างกระแสการออกกำลังการด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกาย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตในประชาชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

29 มิ.ย. 61 1.ประชาสัมพันธ์การออกกำลังกายในชุมชน 900.00 -
13 ก.ค. 61 2.อบรมทักษะการออกกำลังกายแก่ประชาชน 27.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการและแนวทางการดำเนินงาน
      2. จัดทำสื่อไวนิลประชาสัมพันธ์ในชุมชน   3. จัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ   4. อบรมทักษะการออกกำลังกายแก่ผู้สูงอายุ และ ประชาชนทั่วไป   5. ตั้งชมรมออกกำลังกาย   6. จัดกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะที่ถูกต้องในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 2.ประชาชนในชุมชนให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายมากขึ้น 3.ประชาชนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 16:00 น.