กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาร่วมใจต้านภัยไขเลือดออก ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L1497-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อสม. ตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 24,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดีสุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ก.ค. 2561 24,500.00
รวมงบประมาณ 24,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 270 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของประเทศไทยและประเทศ ในแถบเอเชีย มาช้านาน เนื่องจากโรคนี้มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำขัง มีแนวโน้ม    การระบาดสูงในช่วงฤดูฝน และมีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ ทั้งในเด็ก  และผู้ใหญ่ ทำให้เกิด ผลเสียต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เนื่องจากรัฐฯจะต้องเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งในด้านการควบคุมป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลเมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น  ซึ่งในแต่ละปี ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก
          จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 51,583 ราย อัตราป่วย 78.84 ต่อประชากร แสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 60 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.12 จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยจำนวน 347 ราย อัตราป่วย 54.08  ต่อประชากรแสนคน และอำเภอเมืองตรัง เป็นพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นลำดับที่ 4 ของจังหวัดตรัง สำหรับพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ ข้อมูลทางระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ จำนวน 4 ราย อัตราป่วย 87.83 ต่อประชากรแสนคน ส่วนในปี พ.ศ.2561 ตำบลนาโยงใต้    พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 1 ราย อัตราป่วย 25.33 ต่อประชากรแสนคน ตำบลนาโยงใต้ เป็นอีกตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเป็นประจำทุกปี การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ประสบผลสำเร็จ และ      เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และร่วมมือกัน ในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน โดยประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ชมรม อสม.) ตำบลนาโยงใต้ ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประชาร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ประจำปี 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อควบคุมไม่ให้ผุ้ป่วยโรคไข้เลือดออก รายที่ 2 ภายใน 28 วันหลังพบผุ้ป่วยรายแรกในหมู่บ้าน

 

3.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกัน โรคไข้เลือดออก

 

100.00
3 3.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในตำบลนาโยงใต้

 

87.83
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24.00 4 24,500.00
11 มิ.ย. 61 1.ประชมภาคีเครือข่าย 0 0.00 0.00
11 มิ.ย. 61 ประชุมแกนนำชุมชน 0 13.00 13,170.00
15 มิ.ย. 61 3.ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 9.00 9,330.00
16 ก.ค. 61 4.ประชาสัมพันธ์ในชุมชน 0 2.00 2,000.00

๑. จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ   2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่าย เพื่อรับทราบสถานการณ์โรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน   3. จัดอบรมแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  4. จัดซื้อเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ควบคุมป้องกันโรค
  5. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดย อสม.และแกนนำครัวเรือน   6. ประชาสัมพันธ์ โรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยรถประชาสัมพันธ์   7. สอบสวน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทุกหมู่บ้านสามารถควบคุม ไม่ให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก รายที่ 2 ภายใน 28 วัน หลังพบผู้ป่วยรายแรกในหมู่บ้านนั้นๆ 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้อเลือดออกในตำบลนาโยงใต้ ลดลง ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับค่ามัธยมฐานย้อนหลัง 5 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2561 10:29 น.