กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเร่งรัดหยุดยั่งวัณโรค
รหัสโครงการ 61-L1497-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 8,370.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี สุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ก.ค. 2561 8,370.00
รวมงบประมาณ 8,370.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค (Tuberculosis : TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis    ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งในคนเมืองและคนชนบท โดยเฉพาะตามแหล่งที่ผู้คนอาศัยอยู่กันอย่างแออัด พบในเด็ก คนชรา ผู้ที่ติดเชื้อ HIV คนที่ติดสารเสพติด ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ จากการป่วยด้วยโรคอื่นๆ มาก่อน ผู้ที่ตรากตรำทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ และขาดอาหาร ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV เป็นวัณโรคแทรกซ้อนจำนวนมาก และทำให้ วัณโรคที่เคยลดลง กลับมาแพร่กระจายมากขึ้น ในประเทศไทย พบว่าร้อยละ 25-30 ของประชากรของประเทศ ติดเชื้อวัณโรคแล้ว จากรายงาน 506    ของสำนักระบาดวิทยา พบว่า ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมียารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยสามารถควบคุมวัณโรคได้ดี จำนวนผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกมีรายงานลดลง แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ในปี พ.ศ. 2547 พบว่า มีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้น โดยเป็นวัณโรคชนิดพบเชื้อในเสมหะ ประมาณ 50 ต่อแสนประชากร และนอกจากนี้ กลุ่มผู้ป่วยเอดส์ ที่มีโรคติดเชื้อฉวยโอกาส พบว่า วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบมากที่สุด สำหรับตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษากับสถานพยาบาลของรัฐ ในปี 2560 มีจำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตรา 43.87 ต่อประชากรแสนคน ปัญหาการดำเนินงานที่ผ่านมา นอกเหนือจากผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาพยาบาล เนื่องจากต้องรับประทานยาเป็นจำนวนมาก ติดต่อกันเป็นเวลานาน และ การได้รบผลกระทบ  จากอาการข้างเคียงของยาแล้ว การคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงยังดำเนินการได้ไม่ทั่วถึง และกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ที่ได้รับการ  คัดกรองคือ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ในขณะเดียวกันยังมีผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในชุมชน การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่างๆ  ให้ครอบคลุม จะช่วยให้การแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชน ลดน้อยลงได้ เป็นการพัฒนางาน ควบคุมป้องกันโรควัณโรคอีกทางหนึ่ง จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลนาโยงใต้ จึงได้จัดทำโครงการ เร่งรัดหยุดยั้งวัณโรค ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนได้

 

0.00
2 2.เพื่อคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ

 

0.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่มีการน่าสงสัยวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันและรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง

 

0.00
4 4.เพื่อพัฒนาระบบการรักษาวัณโรคแบบกำกับการกินยา โดยมีพี่เลี่ยง (DOTs)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 427.00 2 8,370.00 -7,943.00
21 มิ.ย. 61 1.อบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม. ด้านการควบคุม ป้องกันวัณโรคในชุมชน 0 7.00 7,950.00 -7,943.00
22 มิ.ย. 61 2.คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค 0 420.00 420.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 427.00 2 8,370.00 -7,943.00
  1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการและแนวทางการดำเนินงาน
      2. จัดทำสื่อไวนิลประชาสัมพันธ์ในชุมชน   3. อบรมฟื้นฟูความรู้ อสม. เรื่องทักษะในการตรวจคัดกรองวัณโรค ในชุมชน   4. จัดทำทะเบียน กลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการคัดกรองวัณโรค   5. อสม. ออกคัดกรอง ผู้มีอาการน่าสงสัย วัณโรค ในชุมชนตามแบบคัดกรอง
      6. ดำเนินการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีอาการน่าสงสัยวัณโรค เพื่อตรวจยืนยันจากโรงพยาบาล   8. เจ้าหน้าที่สรุปผลการตรวจคัดกรองฯ ให้ประชาชนรับทราบเป็นรายบุคคล ให้ความรู้เพื่อการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมป้องกัน วัณโรคที่ถูกต้อง ต่อไป   7. เจ้าหน้าที่ และ อสม.ร่วมกันติดตามเยี่ยม กำกับการรักษา และให้กำลังใจผู้ป่วย(ถ้ามี)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ ในการแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน 2.กลุ่มเสี่ยงวัณโรคไ้ดรับการคัดกรอง 3.กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการน่าสงสัยเป็นวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันและรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องทุกราย 4.ระบบการรักษาวัณโรคแบบกำกับการกิจยา โดยมีพี่เลี้ยง DOTs ได้รับการพัฒนา 5.อัตราความสำเร็จในการํกาาวัณโรคหายขาด อยู่ในอัตราย ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2561 10:53 น.