กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดภัยห่างไกลโรคพิษสุนัขบ้า
รหัสโครงการ 61-L1497-2-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี สุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ก.ค. 2561 1 มิ.ย. 2561 31 ก.ค. 2561 32,000.00
รวมงบประมาณ 32,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ (Rabies Virus) สัตว์นำโรค ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า เช่น สุนัข แมว กระต่าย กระรอก กระแต หนู ลิง ชะนี แพะ แกะ วัว ควาย ค้างคาวเป็นต้น สัตว์นำโรคที่สำคัญที่สุดคือ สุนัข มนุษย์ติดเชื้อนี้จากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือน้ำลายเข้าสู่บาดแผล ปัจจุบัน  ยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้น ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ที่ติดเชื้อนี้มักจะเสียชีวิตทั้งหมด ผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า    ส่วนใหญ่ถูกสุนัข หรือแมวกัด ข่วน แล้วไม่ได้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันอย่างรวดเร็วและครบถ้วน กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่ถูกสุนัขกัดมากที่สุด ปัญหาสำคัญของโรคนี้ เกิดจากยังไม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในสุนัขให้ครอบคลุมทุกตัวได้ ที่สำคัญคือ  กลุ่มเสี่ยงทุกรายถูกสุนัขกัดและไม่ได้ฉีดวัคซีนหลังถูกกัด จึงนับว่าโรคนี้ยังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนป้องกัน  ในสุนัขบางพื้นที่ไม่ครอบคลุม และในแต่ละปีคนไทยที่ถูกสุนัขกัดไม่ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า            การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การระวังไม่ให้ถูกสัตว์กัด หรือถูกน้ำลายของสัตว์ รวมทั้งการพาสัตว์เลี้ยงดังกล่าว ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนด ถ้าถูกสัตว์กัดต้องรีบทำความสะอาดบาดแผลอย่างถูกต้อง และไปพบแพทย์เพื่อทำการฉีดวัคซีนทันที
สำหรับในปี พ.ศ. 2561 นี้ กรมปศุสัตว์ ประกาศเขตโรคระบาดพิษสุนัขบ้าไปแล้ว 14 จังหวัด ซึ่งถูกจัดเป็น พื้นที่สีแดง เพราะอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง คือ จ.สุรินทร์ ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา น่าน บุรีรัมย์  อุบลราชธานี  เชียงราย
ร้อยเอ็ด สงขลา ระยอง ตาก ศรีสะเกษ และตรัง นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังโรคระบาดพิษสุนัขบ้าในอีก 42 จังหวัด ซึ่งจัดให้อยู่ ในพื้นที่สีเหลือง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือ จาก ประชาชนทุกคน การรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความตระหนักและร่วมมือกัน จะเป็นแนวทางที่จะนำ ไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนได้

 

70.00
2 2.เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนมีความตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า

 

100.00
3 3.เพื่อป้องกันการเกิดโรคพิษสุขบ้านในชุมชน

 

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 131.00 3 32,000.00
1 - 30 มิ.ย. 61 1.ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า 0 28.00 28,000.00
1 - 30 มิ.ย. 61 2.จัดอบรม 0 3.00 3,900.00
1 - 30 มิ.ย. 61 3.สำรวจผู้ถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด 0 100.00 100.00
  1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการและแนวทางการดำเนินงาน
      2. จัดทำสื่อไวนิลประชาสัมพันธ์ในชุมชน   3. อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า
      4. อสม.ดำเนินการสำรวจผู้ที่ถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด และรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   5. อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ติดตามผู้สัมผัสโรคทุกรายให้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม. ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 2.ผู้สัมผัสโรคทุกรายได้รับการติดตามเพื่อรับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 3.ประชาชนในตำบลนาโยงใต้ ปราศจากโรคพิษสุนัขบ้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2561 11:16 น.