กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุง มุ่งป้องกันไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 6 ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 61-L5224-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลปากแตระ
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 28 ธันวาคม 2018
งบประมาณ 22,556.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลปากแตระ
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.766,100.358place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดเว้น2ปี สถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข ณ 31 ธันวาคม 2560 พบว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อไข้เลือดออกทั้งหมด 51,583 คิดเป็นอัตราป่วย 78.84 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวน 60 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.12 ต่อแสนประชากร การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้มีอัตราป่วยสูงเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ เท่ากับ 12,464 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 134.75 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 26 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.21 และจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกสูงสุดของภาคใต้ จำนวน 2,988 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 212.53 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.17 ในส่วนของอำเภอระโนดพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 75 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 126.16ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อคลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด พบว่า ตำบลปากแตระมีผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออก อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี จากข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ พบว่า ตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 133.80 ต่อประชากรแสนคน ซึ้งสูงกว่าค่า Median ย้อนหลัง 5 ปี ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต หมู่บ้านที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือหมู่ที่ 1 บ้านตะพังหม้อ 3 ราย รองลงมาคือ หมู่ที่ 6 บ้านรับแพรก จำนวน 2 ราย , หมู่ที่ 5 บ้านหัวเกาะช้าง จำนวน 1 ราย , หมู่ที่ 3 บ้านปากแตระ จำนวน 1 ราย ,หมู่ 2 บ้านเลียบ จำนวน 1 ราย และ หมู่ที่ 4 บ้านหัวเกาะ ยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และจาการสำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2560 หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 6 ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จำนวน 664 หลังคาเรือน ยังพบมีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุง HI = 10.16 , CI = 0 จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกข้างต้นทางชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลปากแตระ จึงคิดแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยกิจกรรม5 สเป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เน้นให้ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชุมชนกิจกรรมที่ทำแล้วเห็นผลเร็วและชัดเจนจึงมีแนวคิดที่จะมีการดำเนินกิจกรรม 5 สได้แก่สะสางสะดวกสะอาดสุขลักษณะ และสร้างนิสัยเพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือประชาชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ ดังนั้นทางชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลปากแตระ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง มุ่งป้องกันไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมืิของประชาชนในชุมชน ทุกภาคส่วน

ไม่พบลูกน้ำยงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้านและบริเวณบ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลระโนดเพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 2. เขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปากแตระ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ ทีมSRRT อสม.แกนนำชุมชน. 4. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่ะเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แก่ ทีม SRRT/แกนนำชุมชน/นักเรียน/ประชาชนที่สนใจ จำนวน 100 คน
2. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น รถโมบายเคลื่อนที่ แผ่นพับโรคไข้เลือดออก ป้ายประชาสัมพันธ์ 3. สำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือน มิถุนายน – กันยายน 2561
ขั้นสรุปโครงการ ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปากแตระ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้านชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง
  2. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2018 16:15 น.