กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษชุมชนวัดภูผาภิมุข
รหัสโครงการ 2561–L7572 -02-030
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนวัดภูผาภิมุข
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 21,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชุติญา ทองนุ่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเรื่องของปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติจำนวนชองผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่มักจะมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและยังคงตกค้างในผลผลิต ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง แต่กระนั้น สำหรับประชาชนในเขตชุมชนเมืองที่ไม่เคยปลูกผักเลยก็เป็นปัญหาใหญ่ ในการที่จะเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การปลูกผักด้วยตนเอง ดังนั้น ชุมชนวัดภูผาภิมุข จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษในพื้นที่ชุมชนเพื่อลดสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยและเกิดความตระหนักถึงปัญหาในการบริโภคอาหารและพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 70 ได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยและเกิดความตระหนักถึงปัญหาในการบริโภคอาหารและพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง

0.00
2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 70 ได้รับความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00
3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษและไม่มีสารเคมีตกค้าง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง

0.00
4 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตรซึ่งกันและกันทำให้ความสัมพันธ์ของผู้คน ในชุมชนมีความกลมเกลียว

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนพืชผลทางการเกษตรซึ่งกันและกัน เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนเมือง ซึ่งค่อนข้างเห็นได้ยากในปัจจุบัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ก.ค. 61 ประชุมแกนนำชุมชน และ อสม. เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 10 250.00 250.00
29 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารปลอดสารพิษและการปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคด้วยตนเองในครัวเรือน 50 21,600.00 21,600.00
รวม 60 21,850.00 2 21,850.00
  1. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการให้แก่ อสม. และ แกนนำชุมชน ได้รับทราบแนวทาง
  2. จัดอบรมให้ความรู้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยและโทษของการบริโภคอาหารหรือพืชผักที่มีสารพิษ สารเคมีตกค้าง
  3. จัดอบรมให้ความรู้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้บริโภคด้วยตนเองในครัวเรือน
  4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และพืชผลผลิตทางการเกษตรของผู้เข้าร่วมโครงการ
  5. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยและเกิดความตระหนักถึงปัญหาในการบริโภคอาหารและพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจในวิธีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคด้วยตนเองและสามารถที่จะ นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษที่ปลูกด้วยตนเอง
  4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตซึ่งกันและกันช่วยทำให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมีความกลมเกลียว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2561 13:55 น.