กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเปลี่ยนขยะเป็นเงิน เพื่อหมู่บ้านสะอาด สร้างรอยยิ้มให้คนป่าโอน
รหัสโครงการ 61-8282-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6
วันที่อนุมัติ 16 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 20,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.นฤมล หมันตะเห ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 6
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิโรจน์ รัตนาลัย นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 มิ.ย. 2561 30 ก.ย. 2561 26 มิ.ย. 2561 30 ก.ย. 2561 20,400.00
รวมงบประมาณ 20,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศไทย คือ การจัดการขยะ ซึ่งแต่เดิมจะเกิดขึ้นเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ แต่ปัญหานี้ได้ขยายวงกว้างมากขึ้นในทุกเขตเมือง โดยแปรตามกับความเจริญและการขยายขนาดของเมือง ซึ่งสภาพเศรษฐกิจยิ่งดีมากขึ้นเท่าไรปัญหาขยะก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันประเทศไทยใช้การจัดการขยะด้วยการฝังกลบเป็นส่วนใหญ่ และมีปัญหาการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ที่มีการฝังกลบเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่ต้องการให้อยู่ใกล้ชุมชนของตนเอง ถึงแม้จะมีการจัดการที่ดีเพียงใดก็ตาม ในด้านการกำจัดขยะโดยใช้วิธีเผาในปัจจุบันต่างประเทศได้หันมาใช้วิธีนี้กัน แต่ก็มีปัญหาเรื่องการเกิดมลพิษและค่าใช้จ่ายที่สูงมากในหลายประเทศจึงได้หันมาใช้วิธีนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล (Recycle) ซึ่งได้ผลดี ฉะนั้นแนวทางใหม่ในการจัดการขยะโดยการ    รีไซเคิลน่าจะมีประสิทธิภาพดีสำหรับประเทศไทย ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นการเสริมสร้างแนวคิดวิสัยทัศน์ และกระบวนการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่บุคลากรขององค์กรการเพิ่มขีดความสามารถที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ นอกจากนี้กองขยะยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคสารพัดชนิด เช่น ยุง แมลงวัน หนู และแมงสาบ โดยเฉพาะยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก และยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มเกิดการระบาดมากขึ้น การจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธีเป็นหนึ่งในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
โครงการนี้เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ชุมชน และภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชนในทุกภาคส่วน และทุกครัวเรือน โดยการจัดกิจกรรมเชิงรุกตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ปลูกจิตสำนึก การรณรงค์ การฝึกอบรมให้ความรู้ และการคัดแยกขยะในชุมชนและครัวเรือน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนได้มีรายได้เสริมจากขยะที่ได้จากชุนชมและครัวเรือน บางส่วนนำกลับไปใช้ทางการเกษตรเป็นการคืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 6 บ้านป่าโอน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นเงิน เพื่อหมู่บ้านสะอาด สร้างรอยยิ้มให้คนป่าโอน” ขึ้นเพื่อลดอัตราการเกิดขยะ อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกทั้งในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนักและร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ

เกิดชุมชนสีเขียว และครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว

50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง และเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน

เกิดกลุ่มแกนนำในการขับเคลื่อนธนาคารขยะรีไซเคิล

50.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง และเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน

เกิดกลุ่มแกนนำในการขับเคลื่อนธนาคารขยะรีไซเคิล

50.00
4 เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

เกิดบ้านต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งภายในบ้านและบริเวณรอบบ้าน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,400.00 3 20,400.00
5 ก.ย. 61 - 6 เม.ย. 61 ส่งเสริมให้ประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ 0 5,230.00 5,230.00
7 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล 0 9,340.00 9,340.00
17 - 19 ก.ย. 61 กิจกรรมประกวดบ้านเรือนสะอาด 0 5,830.00 5,830.00

อบรมให้ความรู้ เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ และสาธิตการปลูกผักสวนครัว ติดตามผลลัพธ์การปลูกผักปลอดสารพิษแต่ละครัวเรือน ชวนคิด-ชวนคุยการสร้างการมีส่วนร่วม (VHS) เรื่องธนาคารขยะรีไซเคิล อบรมให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะในชุมชน ติดตามการบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ของหมู่บ้าน รับซื้อทุกวันที่ 8 ของเดือน ประกวดบ้านที่เข้าร่วม พร้อมทั้งรณรงค์ทำความสะอาด (Big cleaning)หมู่บ้าน และปรับปรุงภูมิทัศน์ในหมู่บ้านให้สวยงาม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนักและร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ 2.ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง และเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน 3.ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2561 16:33 น.