กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลผลิต:
1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเพิ่มขึ้น   2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจการคักแยกขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้น 3. ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลความสะอาดบ้านของตนเองเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์:
1. เกิดชุมชนสีเขียว และครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวรับประทานกินเอง ร้อยละ 70 จากเป้าหมาย ร้อยละ 50 2. เกิดกลุ่มแกนนำในการขับเคลื่อนธนาคารขยะรีไซเคิล ร้อยละ 100 3. เกิดบ้านต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งภายในบ้านและบริเวณรอบบ้าน ร้อยละ 80 จากเป้าหมายร้อยละ 70 - หลังจากได้อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษ การคัดแยกขยะในชุมชน และการประกวดบ้านต้นแบบ ทำให้ประชาชนรู้คุณค่าและเห็นความสำคัญ ของ “ขยะ” และหันมาปลูกผักรับประทานเอง และรักษาความสะอาดภายในบ้านและบริเวณรอบบ้านมากขึ้น - ประชาชนในชุมชนได้มีการอบรมการคัดแยกขยะในชุมชน แล้วมีการนำขยะรีไซเคิลมาขายให้กับหมู่บ้าน ซึ่งสามารถเก็บเป็นเงินฝาก รับเป็นเงินสด หรือแลกเป็นถ้วยจานได้ โดยจะรับซื้อทุกวันที่ 17 ของเดือน
- ไม่มีผู้ป่วย ป่วยด้วยโรคระบาดในชุมชน เช่น โรคไข้เลือดออก จุดเด่นของโครงการ/กิจกรรม ในครั้งนี้
- การมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้นำส่วนต่างๆ ในชุมชน - สร้างรายได้ให้แก่กองทุนหมู่บ้าน - ประชาชนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
- ลดปริมาณขยะในชุมชน - ประชาชนเห็นคุณค่าและเห็นความสำคัญของ “ขยะ” - เกิดบ้านต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งภายในบ้านและบริเวณรอบบ้าน และประชาชนรักความสะอาดมากขึ้น จุดที่ควรพัฒนาของโครงการ/กิจกรรม ในครั้งนี้     - การประชาสัมพันธ์โครงการให้ทั่วถึงและรวดเร็ว

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนักและร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
ตัวชี้วัด : เกิดชุมชนสีเขียว และครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว
50.00 50.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง และเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน
ตัวชี้วัด : เกิดกลุ่มแกนนำในการขับเคลื่อนธนาคารขยะรีไซเคิล
50.00 50.00

 

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง และเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน
ตัวชี้วัด : เกิดกลุ่มแกนนำในการขับเคลื่อนธนาคารขยะรีไซเคิล
50.00 50.00

 

4 เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
ตัวชี้วัด : เกิดบ้านต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งภายในบ้านและบริเวณรอบบ้าน
1.00 1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนักและร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (2) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง และเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน (3) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง และเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน (4) เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล (2) ส่งเสริมให้ประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ (3) กิจกรรมประกวดบ้านเรือนสะอาด

ข้อเสนอแนะ ได้แก่
    - ควรมีการบูรณาการกิจกรรมให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน เช่น ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง - ควรมีการจำกัดเวลาในการรับซื้อขยะอย่างชัดเจน - ควรมีการสำรองตำแหน่งเจ้าหน้าที่รับซื้อขยะ เวลาเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ - ควรมีการรณรงค์ทำความสะอาด (Big cleaning) หมู่บ้านอย่างต่อเนื่องทุกๆเดือน ร่วมกับภาคีเครือข่าย

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh