กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 61-L1462-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคลองชีล้อม
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กันยายน 2561 - 10 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองชีล้อม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.433,99.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๑ และ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดในสตรีไทย ปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นในโรคมะเร็งเต้านม เสียชีวิต ๑๗.๒ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ในโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ๑๙.๕ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วย และอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกลดลง จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมปี๒๕๖๐ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองชีล้อม พบว่าสตรี อายุ ๓๐-๗๐ ปีจำนวน๒๖๘ คน ขึ้นไปได้รับการตรวจเต้านม จำนวน ๒๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๗๘และสตรีอายุ๓๐-๖๐ ปี จำนวน๒๐ ๘ คน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมด จำนวน ๑๗๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๕๘ ส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการรวม เจ้าหน้าที่ในต่างพื้นที่เข้ามาทำงานร่วมกันการสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริมความรู้แก่กลุ่มแกนนำ และกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผลการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รูปแบบการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมที่สุดต่อไปโรงพยาบาลแว้ง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เชิงรุกในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมาย

 

0.00
2 ๒.เพื่อสนับสนุนให้ แกนนำและสตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีทักษะในการ ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และสามารถนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้

 

0.00
3 ๓.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
13 ก.ค. 61 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ 40 0.00 0.00
13 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 40 12,860.00 12,860.00
รวม 80 12,860.00 2 12,860.00

๑.ขั้นเตรียม

๑.๑ สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ๑.๒ ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ๑.๓ เขียนโครงการเพื่ออนุมัติ

๒.ขั้นดำเนินการ

๒.๑ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆเช่น แผ่นพับ ไวนิล ๒.๒ อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มเป้าหมาย

๓. ขั้นสรุปผล

๓.๑ ประเมินผลการทำงานของโครงการ ๓.๒สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมี อายุ ๓๐-๖๐ปี ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการ

๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มี อายุ ๓๐-๖๐ปีที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน

๓. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ๓๐-๗๐ปีมีความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

๔. ลดอัตราป่วย/ตาย โรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2561 10:14 น.