กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการคัดแยะขยะชุมชนกำปงกู
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนกำปงกู
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 33,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาลีกีหะยีเจะมุ)
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอย แถลงการณ์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมควบคุมมลพิษ เผยสถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี 2560 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 27.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากปี2559 ที่เกิดขึ้น 27.06 ล้านตัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมืองแต่อัตราการเกิดขยะมูลฝอยลดลงจาก 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน  ในปี2559 เป็น 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน
การจัดการขยะมูลฝอยใน 2560 เปรียบเทียบกับ ปี 2559 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 9.57 ล้านตัน เป็น 11.70 ล้านตัน มีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น    ร้อยละ 47 จาก 5.80 ล้านตัน เป็น 8.52 ล้านตัน ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องลดลง  ร้อยละ 39 จาก 11.69 ล้านตัน เป็น 7.18 ล้านตัน ขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยทั่วไปสามารถแยกได้เป็น 4 ประเภท    คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ เรียกว่า “ขยะรีไซเคิล” ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็น ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างในชุมชน อาทิ พฤติกรรมการบริโภค,การใช้สินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการย่อยสลายโดยเฉพาะถุงพลาสติกและโฟม,ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะ,และขาดความร่วมมือของหน่วยงานท้องถิ่น ประชาชน และองค์การภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท เพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการทำลายที่ปลอดภัย  ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาล
คณะกรรมการชุมชนบือติงกำปงกูจึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาวะของประชาชนในชุมชนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง  ที่ประชาชนจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการการคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน    จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชน ทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่า  และยั่งยืนต่อไป


ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนกำปงกู

ในชุมชนบือติงกำปงกูมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 567 ครัวเรือนมีหลังคาเรือน ทั้งหมด 352 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 2,663 คน มีอาณาเขต ตั้งแต่ ถนนสฤษดิ์ ถนนปากน้ำ ถนนสามัคคี สาย ข (โรงเหล้าสาย ข) ลักษณะทั่วไปของชุมชน เป็นชุมชนที่ติดกับแม่น้ำปัตตานี บ้านที่อยู่อาศัยล้อมรอบและติดกับชุมชนใกล้เคียง ในชุมชนมีถังขยะเทศบาล จำนวน15 ใบ ตั้งอยู่บริเวณป้ายชุมชนและบริเวณสามแยก มีแรงงานต่างด้าวอยู่อาศัย  เนื่องจากเป็นที่จอดเรือของผู้ประกอบการธุรกิจประมง  มีอุตสาหกรรมโรงงานน้ำแข็งขนาดใหญ่  การดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ค้าขาย และใช้แรงงาน มีอุปโภคการบริโภคและกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน    ที่ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ไม่มีการคัดแยกขยะ ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง ทำให้เกิดความสกปรก ไม่เป็นระเบียบ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เชื้อโรค ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนในชุมชน

คณะกรรมการชุมชนบือติงกำปงกูเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชน จึงได้ทำการสุ่มสำรวจปริมาณขยะ    ในครัวเรือนประชาชน จำนวน 50 หลังคาเรือน พบว่า ขยะรีไซเคิลร้อยละ 12 ขยะอินทรีย์ ร้อยละ 30 ขยะทั่วไป    ร้อยละ 74 และ ขยะอันตราย ร้อยละ 2 ซึ่งประชาชนไม่รู้จักการบริหารจัดการคัดแยกขยะ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อ  นำร่องในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน และป้องกันแหล่งโรคติดต่อที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ

ร้อยละ 50  ของประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องประเภทขยะ

0.00
2 เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยกขยะ การนำกลับมาใช้ใหม่

ร้อยละ 30  ของประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ

0.00
3 เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ

ร้อยละ 80  ของประชาชนในชุมชนรับทราบการประชาสัมพันธ์ในการคัดแยกขยะ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะตามหลัก 3R 0 0.00 -
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 ขยะแลกเงิน 0 0.00 -
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรม “ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ 0 0.00 -

1.ประชุมชี้แจงแกนนำชุมชนเพื่อจัดทำโครงการ 2.แต่งตั้งคณะกรรมการ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.รับสมัครสมาชิก/จัดตั้งธนาคารขยะ/หมักขยะอินทรีย์ทำปุ๋ย 5.จัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย 2.ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน 3.มีแกนนำในการจัดดารขยะในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2561 15:28 น.