กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการฝากครรภ์และส่งเสริมสุขภาพเด็กเชิงรุกสู่ชุมชน
รหัสโครงการ 61-L5191-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หัวหน้าคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 2
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 33,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชนี แก้วมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ ศรีรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 เม.ย. 2561 31 ส.ค. 2561 33,390.00
รวมงบประมาณ 33,390.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในอดีตสังคมไทยที่เคยเป็นครอบครัวขยายก็กลายเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นการทำงานนอกบ้านของผู้หญิงมีมากขึ้น การดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูลูกในวัยต่างๆตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยเรียนและวัยรุ่น บิดามารดามีเวลาในการเลี้ยงดูลูกน้อยลง สถาบันครอบครัวอ่อนแอจนอาจเกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยส่งผลต่อการพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของเด็กในระยะยาวจากการเก็บข้อมูลอนามัยแม่และเด็กในเขตพื้นที่ หมู่ที่4 บ้านคลองประดู่ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาปีงบประมาณ 2559- 2561 พบอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 10.50, 4.50และร้อยละ 4.69 ตามลำดับ ทารกน้ำหนักต่ำกว่า ๒๕๐๐ กรัม ร้อยละ 5.56,6.38,1และ 1.64 ตามลำดับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 70.00,63.83 และร้อยละ 84.75ตามลำดับเด็ก 0-5 ปี ส่วนสูงดีและรูปร่างสมส่วนร้อยละ48.97,54.18 และร้อยละ 71.60 ตามลำดับ พบปัญหาโรคฟันผุในเด็กอายุ18 เดือน มีฟันผุ ร้อยละ 40.00 ,16.67 และ ร้อยละ 28.57 ตามลำดับเด็ก 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 82.05 ,80.95 และร้อยละ63.16 ตามลำดับและ ใน ปี 2560 พัฒนาการเด็กอายุ 9 เดือน 18 เดือน 30 เดือน และ 42 เดือน ตรวจโดยใช้เครื่องมือ DSPM พบเด็กมีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 11.48 ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพจึงต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งคลอด และดูแลตามวัยจนกระทั่งอายุ 5 ปี ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์2 จึงจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในกลุ่มแม่และเด็ก ในพื้นที่เขตรับผิดชอบโดยการสร้างความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อให้มารดา และเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีภาวะสุขภาพที่ดี ในทุกๆรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์และสามีได้เข้าร่วมโรงเรียนพ่อแม่ทั้ง 2 ครั้ง

 

0.00
2 เพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,750.00 0 0.00
18 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 1. การเตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธ์ก่อนการตั้งครรภ์ 0 3,750.00 -
18 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 2. จัดกิจกรรมพัฒนางานฝากครรภ์คุณภาพ (จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ในหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ เดือนละ 2 ครั้ง) 0 9,000.00 -
18 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 2. จัดกิจกรรมพัฒนางานฝากครรภ์คุณภาพ (จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่(เด็ก๐ - ๕ ปี)เดือนละ 4 ครั้ง) 0 14,000.00 -

กิจกรรมที่ 1 การเตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธ์ก่อนการตั้งครรภ์ 1.1 ค้นหาภาวะซีด(ตรวจเลือด)ในหญิงวัยเจริญพันธ์และแนวการการดูแลต่อเนื่อง(แลกเปลี่ยนเรียนรู้) 1.2 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะซีด และการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธ์ กิจกรรมที่ 2จัดกิจกรรมพัฒนางานฝากครรภ์คุณภาพ 2.1 จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ในหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ เดือนละ 2 ครั้ง 2.2 จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่(เด็ก๐ - ๕ ปี)เดือนละ 4 ครั้ง กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งชมรมแม่อาสาอย่างต่อเนื่อง 3.1 อบรมแกนนำนมแม่เพื่อรณรงค์การดื่มนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
3.2 ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 4 การตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ 4.1 ให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเด็กเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ( เด็ก 0-2 ปี) 4.2 ตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์ ( เด็ก 0-2 ปี)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง 5 ครั้งตามเกณฑ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดทุกราย
  2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง
  3. เด็ก 0 – 6 ได้รับด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน
  4. เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกช่วงวัย
  5. เด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ
  6. หญิงวัยเจริญพันธ์ที่เข้าร่วมโครงการคัดกรองภาวะซีด เมื่อตั้งครรภ์ไม่มีภาวะซีดครั้งที่1
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2561 10:31 น.