โครงการหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคสู่สุขภาพดียั่งยืน
ชื่อโครงการ | โครงการหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคสู่สุขภาพดียั่งยืน |
รหัสโครงการ | 61-L5223-ป.1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านใหม่ |
วันที่อนุมัติ | 27 มิถุนายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2561 - 30 เมษายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 24,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวไลภรณ์ สุขทร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.799723,100.289988place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราตาย 85.04 ,3.64 , 55.25 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.๒๕๕๐)และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี2550 พบว่าคนไทยมีเพียง 5ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า15ปีโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 ของภาควิชาโภชนวิทยาคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลและภาควิชา เวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษาอายุมากกว่า15ปี จำนวน36,290คนพบว่า กลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ 5.97และ 4.56 วันต่อสัปดาห์ตามลำดับ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง 2 กระบวนการได้แก่
1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 - 5วันๆละอย่างน้อย30นาที
2. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ
และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 20 - 30โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดก็ลดลงมากเช่นกันทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาจึงได้จัดทำ โครงการหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคสู่สุขภาพดียั่งยืน ปี2561 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 120 | 24,600.00 | 0 | 0.00 | 24,600.00 | |
24 มี.ค. 62 | จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ | 60 | 13,600.00 | - | - | ||
25 มี.ค. 62 | จัดประกวดบ้านต้นแบบและบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพและจัดรณรงค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับตำบล | 60 | 11,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 120 | 24,600.00 | 0 | 0.00 | 24,600.00 |
1.จัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานหลักระดับตำบล
2. จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคทั้งนี้โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายสุขภาพทีเกี่ยวข้องอาทิเช่น เกษตรตำบล/อบตสถานศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุชมรมสร้างสุขภาพผู้นำชุมชน ฯลฯ ซึ่งอาจจะดำเนินงานในรูปของคณะทำงานหรือคณะกรรมการแล้วแต่ความเหมาะสมประกอบด้วยกิจรรมหลักดังนี้
2.1สำรวจ/ศึกษาบริบทสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายกินผัก ผลไม้สด และอาหารไขมันของประชาชนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและการจัดกิจกร
2.2กิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพเช่นจัดเวทีประชาคม จัดประชุม/อบรมจัดนิทรรศการประกวดเมนูสุขภาพ บุคคลต้นแบบ คนค้นครัว
2.3จัดให้มีสถานที่/แหล่ง การออกกำลังกาย(รำไม้พอง เต้นแอโรบิค) ปลูกผักปลอดสารพิษหรือจำหน่ายผักปลอดสารพิษ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหมู่บ้าน/ชุมชน
2.4 ชมรมสร้างสุขภาพจัดกิจกรรมกระตุ้นให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3วันวันละอย่างน้อย 30 นาทีกินผักผลไม้สด วันละอย่างน้อย 5 ขีด ขึ้นไป(ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน โดย
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชุมชน ได้แก่เสียงตามสายของหมู่บ้านอาสาสมัครสาธารณสุขแกนนำชุมชน เยาวชน แผ่นปลิว ไวนิล
-จัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชน
2.5 จัดกิจกรรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.6 เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนด้านการออกกำลังกายกินผัก ผลไม้สด และอาหารไขมัน
2.7กำหนดข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยครอบคลุมทั้งกิจกรรมการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการออกกำลังกายกินผัก ผลไม้สดปลอดสารพิษและลดอาหารไขมันที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ
2.8 จัดทำโครงการการแยกขยะเพื่อชุมชน
2.9ถอดบทเรียนการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคฯ ที่มีประสิทธิภาพ
2.10จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและเผยแพร่
1.สร้างทีมงาน แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน วิเคราะห์ต้นทุนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย (เทศบาล,รพ.สต.ผู้นำชุมชน,โรงเรียน ,วัด) 2.ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน 3.หมู่บ้านได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นแบบอย่างหมู่บ้านสุขภาพดีตามวิถีชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2561 12:42 น.