กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน
รหัสโครงการ 61-L5223-ป.1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านใหม่
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวไลภรณ์ สุขทร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.799723,100.289988place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolic โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ในกลุ่มเป้าหมายคือประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกราย ด้วยการวัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการตรวจยืนยันความเสี่ยงต่อโรค Metabolic โดยบุคลากรสาธารณสุข เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งมีเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ส่วนกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรค ก็ส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้ว และกำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลลงตามโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolic
สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ ปี 2560 พบว่า ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 902 คน คิดเป็นร้อยละ 98.90 พบมีประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 18.63 และกลุ่มสงสัยต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 40 คนคิด เป็นร้อยละ 4.43 และผลการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป 2560 จำนวน 967 คน คิดเป็นร้อยละ 99.69 พบมีประชาชนที่คัดกรองที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 6.30 และกลุ่มสงสัยต่อการเกิดโรคเบาหวาน จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 1.65มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน72 ราย โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 232รายคิดเป็นร้อยละ 3.51 และ 11.31 จะเห็นได้ว่ามีอัตราผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรัง ในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อให้การดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยง บรรลุตามตัวชี้วัด เป็นการค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัยจากโรคเรื้อรัง สามารถนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและครอบครัว กลุ่มป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น และลดปัญหาค่าใช้จ่าย ที่ต้องเป็นภาระตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 24,900.00 0 0.00
1 - 30 มิ.ย. 61 กิจกรรมคัดกรองโรคเรื้อรังและให้ความรู้เบื้อต้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคเรื้อรัง 0 13,500.00 -
12 มี.ค. 62 จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังคามหลัก 3 อ 2 ส 40 11,400.00 -
1 มิ.ย. 62 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์คณะทำงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เขียนโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการ สำรวจกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 1.2 ประชุมชี้แจง อสม.เพื่อสำรวจประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 - 3 และ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 1.3 จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประชากร 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิ¬ดชอบ 1.4 ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทบทวนความรู้และพิจารณาจัดทำหลักสูตรพื้นฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการฯ 2.1 ให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงตามแบบฟอร์ม ในประชากร 35 ปีขึ้นไป โดย อสม. 2.2 คัดกรองซ้ำโดยวีธีวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในประชากรที่มีภาวะเสี่ยง 1 ใน 6 ข้อจากแบบคัดกรองความเสี่ยงตามแบบฟอร์ม 2.3 แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยง พร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ และลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยง
2.4บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงในโปรแกรม JHCIS
2.5 จัดกิจกรรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยทีมวิทยากรให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงตามแบบวิถีชุมชนโดยสร้างการมีส่วนร่วมกิจกรรมจากประชาชนกลุ่มเสี่ยง 2.6 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 2.7 ประเมินผลการใช้หลักสูตรสรุปผลการดำเนินโครงการปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยังกลุ่มเสี่ยง ทราบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
    2.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2561 13:01 น.