กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจของชุมชน
รหัสโครงการ 61-L5223-ป.1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านใหม่
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวไลภรณ์ สุขทร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.799723,100.289988place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 13,120.00
รวมงบประมาณ 13,120.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสาร สเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ตำบลบ้านใหม่ มีสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาร้านขายของชำในหมู่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชำได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลร้านชำ ในพื้นที่หมู่ 1,2,3และ9 ตำบลบ้านใหม่ 1.2 จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ 1.3 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ 1.4ประสานกลุ่มเป้าหมาย 1.5ประสานวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 2.1 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการก่อนให้ความรู้ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำแกนนำผู้บริโภค(ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,นักเรียน)และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา และเครื่องสำอางที่ปลอดภัยแนะนำการเลือกซื้อ เลือกจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการจัดร้านขายของชำให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพ 2.3 ขอความร่วมมือร้านขายของชำในการไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยในเขตพื้นที่ตำบลบ้านใหม่
2.4 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการหลังให้ความรู้ 2.5 ตรวจและพัฒนาร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคพร้อมติดสติ๊กเกอร์รูปภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์“ยาอันตรายห้ามจำหน่าย”“ยาสามัญประจำบ้านจำหน่ายได้” “เครื่องสำอางห้ามจำหน่าย” 2.6มอบป้ายร้านชำคุณภาพ และร้านชำติดดาว แก่ร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2.7ตรวจติดตามหลังการพัฒนาร้านชำปีละ 1 ครั้ง
ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1 ประเมินผลความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน – หลังได้รับความรู้ 3.2จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่เข้ารับการอบรม
3.3จำนวนร้านชำที่พัฒนาผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานและผ่าเกณฑ์คุณภาพร้านชำติด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย มีภูมิคุ้มกันมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการในเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ร้านขายของชำในหมู่บ้านให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2561 13:13 น.