กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลลิพัง ปี2561
รหัสโครงการ 61-L1486-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุชตำบลลิพัง
วันที่อนุมัติ 10 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 21 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 มิถุนายน 2561
งบประมาณ 32,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไรวรรณ หลำเบ็ญสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.184,99.81place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่้าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อยวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไปในการตำบลลิพังทั้ง 7 หมู่บ้าน ตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศง 2560ถึงเดือนธันวาคมพ.ศ. 2560 จำนวน 880 บาท พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้ มีผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 80 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.95 และเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 90 ราย คิ ดเป็น ร้อยละ 11.36ดังนั้นชรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิพัง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงที่พบจากการคัดกรองปี 2561 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองได้ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้เรื่องดารดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ประชากรกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมการอบรม รี้อยละ 95 %

0.00
2 เพื่อจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0.00
3 เพื่อติดตามประเมินผลประชากรกลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32.00 0 0.00
1 ก.พ. 61 - 21 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพตนเองห่างไกลโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 0 32.00 -

ขั้นเตรียมการ ๑. รวบรวมข้อมูลรายชื่อประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
๒.จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ ๓. จัดตั้งคณะทำงาน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละหมู่บ้าน และจากบุคลากร ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง
๔.ประชุมเตรียมความพร้อมของคณะทำงาน ประกอบด้วย
๔.๑ ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขทั้งหมด จำนวน๓๕คน ๔.๒เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง จำนวน ๖ คน

ขั้นดำเนินการ ๑. จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
จำนวน ๑ วัน ๒. จัดกิจกรรมมหกรรมสุขภาพเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
จัดกิจกรรมในวันที่ฝึกอบรม รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการออกบูทนิทรรศการ ใน ๓ กิจกรรม คือ อาหารอารมณ์ออกกำลังกาย ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน ๑. ระดับความรู้ของผู้เข้ารับการอบรม ประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องการดูแลสุขภาพด้าน อาหาร ด้านออกกำลังกายด้านอารมณ์ก่อนและหลังการอบรม เกณฑ์ร้อยละ ๘๐
ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้การดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ๒พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรม ประเมินจากแบบสอบถาม
เรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอาหาร ด้านออกกำลังกายด้านอารมณ์ เกณฑ์ร้อยละ ๘๐
มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ติดตามหลังอบรม๖เดือน ๓.ติดตามประเมินผล ๔.สรุปผลการดำเนินงาน/ ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสมในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒. กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และ
ความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามประเมินผลเป็นระยะตามที่กำหนดไว้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2561 13:18 น.