กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มเป้าหมายรายใหม่ที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านวังตง.
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 20,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาพันธ์ เกื้อเดช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.032,99.743place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ1 และ 2ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทยแต่ละปีมีสตรีทั่วโลกมากกว่า ๕ แสนคนต่อปี เป็นโรคนี้และร้อยละ ๘๐เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยพบว่าโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้หญิงวัยกลางคนอายุระหว่าง ๓๕-๕๕ ปีในแต่ละปีมีการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกรายใหม่กว่า ๖,๐๐๐ รายและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ๒,๖๐๐รายต่อปีกล่าวได้ว่าทุกๆวันจะมีสตรีไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกถึง ๗ คน/วัน เป็นสาเหตุการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์จากโรคมะเร็งในมดลูกโรคมะเร็งที่พบรองลงมาโรคมะเร็งเต้านม, โรคมะเร็งช่องปาก,โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจผู้ป่วยและญาติงบประมาณการรักษาเป็นอย่างมากในกรณีป่วยแล้วและการเสียชีวิตในระยะสุดท้ายสูงแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวพร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้การเจ็บป่วยได้รับการดูแลและอัตราการตายจากโรคมะเร็งฯ ลดลงนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง หรือเจ็บป่วยในระยะเริ่มต้น จะทำการตรวจโดยวิธีการทำ แป็ปสเมียร์ (pap smear ) ซึ่งการตรวจวิธีดังกล่าวจะทำให้พบระยะก่อนเกิดโรคมะเร็ง และมะเร็งระยะเริ่มแรกและช่วยให้ทำการรักษาและป้องกันมะเร็งปากมดลูกในระยะเกิดมะเร็งระยะลุกลามได้จากปัญหาการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มอายุ ๓๐-๖๐ ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตงโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการค้นหากลุ่มเป้าหมายในการเข้าสู่ระบบการคัดกรองให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มดังกล่าวให้มากที่สุด โดยต้องทำซ้ำทุก ๕ ปี โดยมีแผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะลดอัตราตายของสตรีไทยจากมะเร็งปากมดลูกลง ๕๐ % ภายในระยะเวลา ๕ ปี ( จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายกลุ่มสตรีกลุ่มอายุ๓๐-๖๐ทั้งหมด 503 คน จะต้องได้ผลงานทั้งหมดจำนวน120 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ต่อปี )และการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองของสตรีกลุ่มอายุ๓๐-๗๐ปี จำนวน ๖๐๘ คนจะต้องได้ผลงานจากกลุ่มเป้าหมาย ๕๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐ซึ่งจากการดำเนินการคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกเริ่มตั้งแต่ปี ๒๔๙๕ โดยวิธี Papanicolaou (Pap smears)และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ยังพบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกยังเป็นปัญหาสำคัญและอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งปากมดลูกยังไม่ได้ลดลงในสตรีไทยปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้โดยวิธี Papanicolaou (Pap smears)คือการค้นหาเนื้อเยื่อ(cell)ผิดปกติ ที่เปลี่ยนแปลงปากมดลูกถ้าเซลล์ผิดปกติเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งใช้เวลา ๕-๑๐ ปี ถ้ามีภาวะเสี่ยงก็อาจเกิดอาการเร็วขึ้นการคัดกรองไม่ได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็สามารถที่ จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ได้ ถ้าสามารถค้นหาเซลล์ผิดปกติก่อนที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งชนิดสแควร์มัส(Scquamous Cell Carcinoma)ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุดของมะเร็งปากมดลูก ส่วนเซลล์ผิดปกติที่อยู่ในรูเปิดของปากมดลูก (Endocervical) จะพบน้อย (ประมาณร้อยละ ๒๐)และเซลล์ที่ผิดปกตินี้จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิด

Adenocarcinomaถ้าผลการตรวจคัดกรองพบว่าเซลล์ที่ปากมดลูกมีความผิดปกติ และมีข้อบ่งชี้ว่ารักษาโดยการจี้ด้วยความเย็นหรือต้องพบแพทย์เพื่อตรวจโดยวิธีอื่นต่อไป เพื่อค้นหาความผิดปกติอื่นเพื่อแนะนำการรักษาที่ดีที่สุดและสามารถลดงบประมาณในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย และเพื่อให้การดำเนินงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย๓๐-๖๐ ปีของ รพ.สต.บ้านวังตง โดยวิธีPapanicolaou (Pap) smears ในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ในปี ๒๕๖1 ซึ่งการดำเนินการคัดกรองให้ได้ตามเกณฑ์ชี้วัดในระดับจังหวัด ให้ได้ร้อยละ ๒๕ โดยอาศัยภาคีย์เครือข่ายในพื้นที่ มีการจัดประชาสัมพันธ์ สำรวจและเชิญชวนเข้าร่วมตรวจคัดกรองโดยความสมัครใจหรือการออกหน่วยบริการตรวจคัดกรองในพื้นที่โดยผ่านการนัดหมายจากกลุ่มภาคีย์เครือข่ายกลุ่มเจ้าหน้าที่ อสม.กลุ่มแม่บ้านสัตรีกลุ่มแกนนำสุขภาพประจำหมู่บ้านและรณรงค์การให้บริการอย่างต่อเนื่องดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตงจึงได้จัดการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ภายใต้โครงการโครงการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มเป้าหมายรายใหม่ที่มีอายุ 30-70 ปี
ปี ๒๕๖1 โดยตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapanicolaou (Pap) smears ในกลุ่มอายุ ๓๐-๖๐ ปี และโดยวิธีตรวจเต้านมด้วยตนเองในกลุ่มอายุ ๓๐-๗๐ ปีเพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงไทยได้รับการตรวจหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมครอบคลุมสตรีกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก และรู้เรื่องมะเร็งเต้านมก่อนตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1 ร้อยละ 25 ของ  สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี จำนวน  120คน  จากกลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งปากมดลูก 503 คน

90.00
2 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  1. ร้อยละ ๒๕ ของ  สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี จำนวน ๑20 คน  จากกลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งปากมดลูก 503 คน
90.00
3 1.ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องพร้อมได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพ

3.ร้อยละ ๙๐ ของสตรีกลุ่มอายุ  ๓๐-๗๐  ปี จำนวน 560 คน  จากกลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งเต้านม ๖๐๘ คน

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก และรู้เรื่องมะเร็งเต้านมก่อนตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตัวชี้วัดความสำเร็จ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และตรวจเต้านมด้วยตนเอง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 1.ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องพร้อมได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มิ.ย. 61 - 1 ก.ค. 61 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ปัญหาโรคมะเร็งในกลุ่มเสี่ยง ความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพคนในหมู่บ้าน โดยอาศัยการติดตามของแกนนำในการเชิญชวน เข้ามาตรวจคัดกรองจากเจ้าหน้าที่ ครั้งละ 60 คน รวม 120 คน จำนวน 2 ครั้ง 20.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.จัดทำทะเบียนสตรีเป้าหมาย 4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ

๑.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน อสมแกนนำ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาหอกระจายข่าว คลื่นวิทยุชุมชน ๒.จัดประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขทั้งตำบลในพื้นที่ดำเนินโครงการและจัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้ อสม ทุกคนเพื่อเข้าร่วมประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน หอกระจายข่าว ๓.จัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายให้ประธาน อสม แต่ละหมู่เพื่อชี้แจงให้ อสม แต่ละคนติดตามกลุ่มเป้าหมายในหลังคาเรือนที่รับผิดชอบมารับบริการตรวจคัดกรอง และติดตามกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการที่สถานบริการอื่น ๔. เจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม และครอบครัวสตรี ร่วมค้นหากลุ่มเป้าหมายในชุมชน ๕. จัดอบรมให้ความรู้ก่อนมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย ๖. จัดทำคลินิกตรวจมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการ และเตรียมอุปกรณ์ออกตรวจในพื้นที่ ๗. สร้างแรงจูงใจให้กลุ่มแกนนำอสม. ช่วยเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการด้วยตนเอง 8. จัดเก็บข้อมูลผู้เข้ารับการตรวจสรุปผลการตรวจเมื่อพบผู้สงสัย มีผลบวกส่งไปรับการวินิจฉัย และรักษาต่อไปตามระบบส่งต่อ 9.จัดทีมออกติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย มีเจ้าหน้าที่ ภาคีย์เครือข่ายเข้าร่วม 10. สรุปและประเมินผลโครงการมอบของขวัญให้แก่ อสม.ที่ประสานนำส่งสตรีกลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประสิทธิผลจำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจทางคลินิกได้ตามเป้าหมาย ๒. ประสิทธิภาพความสำเร็จเกิดจาการทำงานของทีมและภาคีย์เครือข่าย ๓. ความสัมฤทธิ์ผลจากการรายงานตามระบบรายงาน JHCIS

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 14:19 น.