กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการการเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยจากโรคมะเร็งเต้านม หมู่ที่ ๙ บ้านราวปลา ตำบลทุ่งหว้า ประจำปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L5293-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 9 บ้านราวปลา
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 29,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.หมู่ที่ 9
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านคีรีวง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ก.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 29,700.00
รวมงบประมาณ 29,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 168 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่พบในอันดับต้นๆ ของสตรีทั่วโลก สำหรับประเทศไทยพบเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทยและมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุกปีทั้งนี้การได้เฝ้าระวังดูแลสตรีไทยจากมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ในสตรีกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะสตรีอายุตั้งแต่ ๓๐ – ๗๐ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การได้ถ่ายทอดความรู้ และฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถ ดูแลตนเองได้เบื้องต้น มีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และเมื่อพบความผิดปกติสามารถไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ปัจจุบันหมู่บ้านราวปลามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ๒ ราย และตรวจพบสตรีที่มีก้อนผิดปกติ ๓ รายดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ตลอดจนให้ความรู้แก่สตรีในพื้นที่เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและสอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ ๙ บ้านราวปลาจึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยจากโรคมะเร็งเต้านมหมู่ที่ ๙ บ้านราวปลาตำบลทุ่งหว้า ประจำปี ๒๕๖๑ ขึ้น เพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีที่มีอายุตั้งแต่ ๓๐ – ๗๐ ปีจำนวน ๒๑๐ คน (ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๖๘ คน)อันจะส่งผลให้สตรีในพื้นที่ได้รับความรู้และมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และค้นหาความผิดปกติของเต้านมในระยะแรกๆเพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑. เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี มีความรู้ในเรื่องของโรคมะเร็งเต้านม

ข้อที่ ๑. สตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี  (ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๖๘ คน)  มีความรู้ในเรื่องของโรคมะเร็งเต้านม

0.00
2 ข้อที่ ๒. เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี สามารถดูแลตนเองและทักษะในการตรวจเต้านมด้วย ตนเองเป็นประจำทุกเดือน

ข้อที่ ๒. สตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี (ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๖๘ คน) สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องเป็นประจำทุกเดือนโดยมีการติดตามจากอสม.และเจ้าหน้าที่

0.00
3 ข้อที่ ๓. เพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยง หรือความผิดปกติระยะเริ่มต้นต่อโรคมะเร็งเต้านม ได้รับการขึ้นทะเบียน เฝ้าระวังโรค

ข้อที่ ๓. อสม.สามารถค้นหาสตรีที่มีภาวะผิดปกติของเต้านม  ขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม

0.00
4 ข้อที่ ๔. เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่ถูกต้อง

ข้อที่ ๔. สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทาง ๑๐๐ % 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29.70 0 0.00
2 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 29.70 -

ขั้นเตรียมการ ๑.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒.ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุข
๓.สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย

ขั้นดำเนินการ ๑.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางอสม. ผู้นำชุมชน ๒.จัดเตรียมวัสดุ/ อุปกรณ์ และเอกสารในการอบรม ๓.ประสานวิทยากรให้ความรู้ ๔.จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ๕.แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยมีเจ้าหน้าที่และอสม.เป็นพี่เลี้ยง
ขั้นประเมินผล ๑.สตรีอายุ ๓๐ - ๗๐ ปีเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ ๘๐ (๑๖๘ คน) ๒.สตรีอายุ ๓๐ - ๗๐ ปีมีความรู้และสามารถตรวจมะเร็งเต้านมได้อย่างถูกต้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๗๐ปี (๑๖๘ คน) มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมสามารถดูแลตนเองและมีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือนอย่างถูกต้องสามารถค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยง หรือความผิดปกติระยะเริ่มต้นต่อโรคมะเร็งเต้านม ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 14:27 น.