กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟันดีด้วย 2:2:2
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสันติ 2
วันที่อนุมัติ 2 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน ตาเย๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวันชัย บ่อเงิน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.102,101.384place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในร่างกายของมนุษญ์มีระบบย่อยอาหาร ตั้งแต่ ปาก ฟัน กระเพราะอาหาร ผ่านลำไส้จนกลายเป็นกากอาหาร ทุกส่วนจะทำงานตามหน้าที่และสัมพันธ์กัน ปากจะเป็นด่านแรกของการย่อยอาหาร การมีฟันที่ดี ครบสมบูรณ์ ไม่ผุ หรือแตกบิ่น จะทำให้การบดเคี้ยวอาหารได้ละเอียดมากขึ้นซึ่งอาหารที่ผ่านการบดเคี้ยวยิ่งละเอียดมากเท่าใด ก็จะทำให้กระเพราะอาหารและลำไส้ทำงานน้อยดูดซึมแร่ธาตุได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร       การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องทาง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้วยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดง     การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจรการตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษษ บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาป้องกันโรคในช่องปากและโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน 2. เพื่อการบูรณาการงานทันตสาธารณสุขโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม 3. เพื่อส่งเสริมให้ อบต และอสม มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการตรวจช่องปาก มีการทาฟลูออไรด์วานิช ป้องกันฟันผุ 5.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

1.ร้อยละของเด็กต่ำกว่า 3 ปี ได้รับการตรวจช่องปากและผูดูแลได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2.ร้อยละของเด็กต่ำกว่า 3 ปี ได้รับ Fluorine Vanish ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 โครงการฟันดีด้วย 2:2:2 ปี2561 0 20,000.00 -

1 ขั้นเตรียมการ 1.1สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบ 1.2ศึกษาข้อมูลทางด้านครอบครัวที่มีผลต่อทันตสุขภาพของเด็ก 1.3จัดทำประชาคมสุขภาพ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา 1.4เขียนแผนงานโครงการ 2ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.1จัดอบรมให้ความรู้ทางทันตสาธารณสุขและชี้แจงโครงการแก่ผู้ปกครอง กลุ่มแม่บ้าน อสม อบต และผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.2ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ปีละ 2 ครั้ง (เดือนกรกฎาคม และมกราคม) และส่งรักษาต่อในรายที่พบปัญหาเร่งด่วน 2.3 จัดให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันโดยมีผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ควบคุม 2.4กิจกรรมจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้สุขศึกษษในสถานบริการ และศพด 2.5กิจกรรมประกวด หนูน้อยฟันสวย 2.6เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยนิเทศการดำเนินงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเดือนละ 1 ครั้ง 2.7 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 3 ขวบ และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี CF (ปราศจากฟันผุ) เพิ่มขึ้น 2.เด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการส่งเสริมป้องกันอย่างมีมาตรฐานและครอบคลุม 3.ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการฝึกแปรงฟันให้เด็ก 4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารอาหารทุกวัน 5เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการทาฟลูออไรวานิช ป้องกันฟันผุ 6.อบต และอสม มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 20:35 น.