โครงการไข้เลือดออก ปี 2562
ชื่อโครงการ | โครงการไข้เลือดออก ปี 2562 |
รหัสโครงการ | 62 – L3331 - 1 - 04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 22 มิถุนายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 16 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 49,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศนิวาร์ มุสิกะเจริญ/นางณัฏฐณิชา ปลอดเอี่ยม/นางคันธจุฬาลักษณ์ ช. ปลอดฟัก |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายพิลือ เขียวแก้ว |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.451,100.157place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2561 | 30 ก.ย. 2562 | 1 ต.ค. 2561 | 30 ก.ย. 2562 | 49,000.00 | |
รวมงบประมาณ | 49,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชนวัดมัสยิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้นเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางแก้วโรงพยาบาลบางแก้วและอาสาสมัครสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ“โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาดและเพื่อลดความเสี่ยงต่อการโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อัตราป่วยลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร |
80.00 | |
2 | ข้อที่2เพื่อให้ทุกชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ชุมชน ร้อยละ 80 ปลอดลูกน้ำยุงลาย |
80.00 |
จัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (เดินรณรงค์เพื่อสร้างกระแสในชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก) - ในโรงเรียน / ศพด. - ชุมชน
อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2561 10:57 น.