กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L8402-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,918.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนคร กาเหย็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วไป โดยเฉพาะประเทศไทยเขตร้อนชื้น โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค มีหลายโรค โดยโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคชิคุกุนยา โรคไข้ซิการ์ เป็นต้น และแพร่กระจายได้รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน ซึ่งถ้าไม่มีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วแล้วอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2559 ข้อมูลจากสำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วย 26,564 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 40.60 คนต่อแสนประชากร จำนวนผู้ป่วยตาย 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 0.08 คนต่อแสนประชากร (กรมควบคุมโรค, 2 สิงหาคม 2559) จังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 906 ราย มีรายงานผู้ตาย 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 509.55 ต่อแสนประชากร (สสจ.สงขลา,สิงหาคม 2559) โดยปี 2559 ตำบลคูหาใต้ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 94.85 ต่อประชากรแสนคน (สสอ.รัตภูมิ, 2559) พบว่ามีอัตราป่วยที่เกินตัวชี้วัดที่กำหนด ที่อัตราป่วยไม่เกิน 50 คนต่อแสนประชากร โดยพบมากที่สุดในพื้นที่บ้านทุ่งมะขาม หมู่ที่ 10 จำนวน 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 225.85 คนต่อแสนประชากร สถานการณ์ของโรคซิการ์ ซึ่งแม้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดสงขลาและในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ แต่กำลังมีการระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งในปี 2560 มีแนวโน้มจะมีการระบาดในพื้นที่ประเทศไทยและจังหวัดสงขลาได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม จึงเห็นควรต้องมีการควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เนื่องด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคอื่นๆ ที่เกิดจากยุง เป็นอันตรายสามารถทำให้เสียชีวิตได้ รวมทั้งส่งผลทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และจิตใจแก่ประชาชนในพื้นที่ได้   สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม มีจำนวน 1,080 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้น 3,610 คนพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 4 ปีในปี 2557, 2558, 2559 และ 2560 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 10 ราย 9 ราย 10 ราย และ 2 ราย ตามลำดับ สำหรับปี 2561 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 30 เมษายน 2561 รพ.สต.ทุ่งมะขาม แม้ยังไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่แล้ว แต่ได้พบผู้ป่วยสงสัยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 4 ราย เพื่อให้มีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง รพ.สต.ทุ่งมะขาม จึงเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากยุง

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากยุง

80.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

90.00
3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน

ประชาชนในพื้นที่ร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 39,918.00 0 0.00
17 พ.ค. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ พร้อมการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 160 39,918.00 -

1.เก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน 2.จัดทำหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม 3.เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในงานอบรมและจัดนิทรรศการ 4.ประชุมชี้แจงแผนงานโครงการและสถานการณ์โรคติดต่อที่เกิดจากยุงในปัจจุบัน แ่กเครือข่านสุขภาพ รพ.สต.ทุ่งมะขาม ทั้งหาแนวทางควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 5.อบรมให้ความรู้กับ อสม.และผู้นำชุมชน เรื่องการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เกิดจากยุงและโรคระบาดในพื้นที่ในรูปแบบ SRRT 6.รณรงค์เผยแพร่ความรู้ โดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบความรู้ แผ่นพับในสถานบริการ ป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน 7.อบรมแกนนำเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เกิดจากยุง จำนวน 50 คน 8.อบรมการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เกิดจากยุง นักเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 โรงเรียนๆละ 25 คน จำนวน 50 คน 9.จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ในชุมชน วัดและโรงเรียน ทำลานแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง จำนวน 2 ครั้ง 10.ประสานงานกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ รณรงค์พ่นหมอกควันกำจัดยุงในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งมะขาม ทั้งสิ้น 5 หมู่บ้าน 11.สำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ทุกหลังคาเรือน โดย อสม.และให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดและควบคุมลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนพร้อมทั้งแจกทรายที่มีฟอสกำจัดลูกน้ำ สำหรับใช้ในครัวเรือนทุกหลังคาเรือน 12.กรณีพบผู้ป่วยและผู้ส่งสัยเป็นโรคไข้เลือดออกชุมชน เร่งดำเนินการควบคุมและสอบสวนโรค โดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายและบริเวณบ้านใกล้เคียง 100 เมตร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดความร่วมมือของเครือข่ายบริการสุขภาพในการดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 3.ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดจากยุงในครัวเรือนและชุมชนได้ 4.แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนพื้นที่ ได้รับการควบคุมกำจัดอย่างถูกต้อง 5.มีการทำงานเป็นทีมในรูปแบบ SRRT ระดับ รพ.สต.ทุ่งมะขาม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2561 11:52 น.