กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปีงบประมาณพ.ศ. 2561
รหัสโครงการ 61 – L7890 -02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 105,563.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี วิเชียร
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 105,563.00
รวมงบประมาณ 105,563.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่พบว่ามีการเกิดโรคเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีและพบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย(โรคชิคุนกุนยา) เป็นบางปีกระจายไปทั่วทุกพื้นที่และมีแนวโน้มการเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุหากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้องแล้ว อาจนำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อกและอาจเสียชีวิตได้ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งจากสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกข้อมูลระบาดวิทยาตำบล พะตงตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕9 –๒๕60 (1 มกราคม 2560 – 30 กันยายน 2560) พบว่าผู้ป่วยไข้เลือดออก40 และ44รายตามลำดับ ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตซึ่งอัตราป่วยดังกล่าวนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้(เกณฑ์ไม่เกิน๕๐ต่อแสนประชากร) จากการศึกษาข้อมูลพบว่าอัตราการเกิดโรคครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลพะตง กลุ่มประชากรที่เกิดโรคมากที่สุด คือกลุ่มอายุ๑๐-๑๔ปีซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนช่วงเวลาของการเกิดโรคสูงสุดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายนนอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดโรคเกิดขึ้นทุก ๆเดือนและเมื่อมาวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคแล้วมักเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคเช่นมีน้ำขังตามแอ่งและภาชนะต่างๆที่ใช้และไม่ใช้ในครัวเรือนโรงเรียนวัดและสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายยุงลายสามารถวางไข่เติบโตเป็นตัวแก่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือนหากยุงลายตัวใดมีเชื้อไข้เลือดออกกัดบุคคลในครัวเรือนเข้าก็ปล่อยเชื้อและเกิดเป็นไข้เลือดออกในเวลาต่อมาวงจรชีวิตนี้จะวนเวียนตลอดไปดังนั้นงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและจากการดำเนินการเดินสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายทุกชุมชนเป็นประจำทุกเดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กันยายน2561พบว่าค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายเกินเกณฑ์มาตรฐานแม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องและอยู่ในอำนาจหน้าที่กฎหมายจัดตั้งของเทศบาลตามมาตรา 50 (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำโครงการ“โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายปีงบประมาณพ.ศ. 2561”เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายโดยอาศัยวิธีการทั้งทางด้านกายภาพชีวภาพและเคมีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิคุนกุนยา) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลพะตง ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายลดลง

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด และชุมชน จัดกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

โรงเรียน วัด ค่า CI = 0 ชุมชน ค่า HI < 10

0.00
3 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มที่อัตราการเจ็บป่วยสูงสุด สามารถดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวที่เจ็บป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

นักเรียน  ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและร่วมกันป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 67,961.00 0 0.00
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 อสม.ทั้ง 9 ชุมชน เดินสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายเป็นประจำทุกเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2561 ( 3 เดือน) 0 45,600.00 -
1 - 31 ก.ค. 61 เดินรณรงค์สร้างความตระหนักเรื่องโรคไข้เลือดออก 0 8.00 -
1 ก.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 อบรมให้ความรู้นักเรียน 0 28.00 -
3 ก.ค. 61 พ่นหมอกควันและพ่นสารเคมีละอองฝอยละเอียดชนิดติดรถยนต์ 0 19,800.00 -
3 ก.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้อสม.เรื่องไข้เลือดออกและสถานการณ์ของโรค 0 1,500.00 -
30 ก.ย. 61 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารเทศบาลและคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพทราบ 0 1,025.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำโครงการฯเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหารเทศบาลตำบลพะตง ๒. เสนอโครงการฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพะตง ๓. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และชมรม อสม.เทศบาลตำบลพะตง ๔. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินงานตามโครงการฯ
๕. ติดต่อประสานงานกับโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมัสยิดผู้นำชุมชนอสม. เพื่อขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
๖. ติดต่อประสานงานกับ ผู้นำชุมชน อสม. และกองวิชาการและแผนงานเพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขั้นดำเนินงาน
1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกให้กับนักเรียน
-โรงเรียนเทศบาล1(ชุมชนบ้านอุดมทอง)โดยแยกระดับชั้น รวมจำนวน 3 วัน (เนื่องจากเด็กจะได้รับความรู้และลดความแออัดในการอบรม)ชั้น ป.4-6 จำนวน200คน -นักเรียนโรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ จำนวน100คน -นักเรียนโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์จำนวน100คน -นักเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีส่องแสงพาณิชยการจำนวน100คน
2. ให้บริการพ่นหมอกควันในชุมชน วัด และโรงเรียน เพื่อป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทั้งในช่วงปกติและที่มีการระบาด
3. สอบสวนโรค (กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก)
4. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้าน ชุมชน วัด และโรงเรียน ทุกเดือน 5. จัดกิจกรรมเดินรณรงค์การป้องกันการระบาดของโรค
6. สรุปผลการดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาและรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพะตงทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.โรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดและประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายและร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
๒. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในเขตเทศบาลตำบลพะตงลดลง ๓. ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตเทศบาลอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2561 15:28 น.