กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5171-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 11,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณีเพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.ค. 2561 11,675.00
รวมงบประมาณ 11,675.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 189 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชน เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ มีหมู่บ้านรับผิดชอบทั้งหมด 7 หมู่บ้าน มีร้านค้า ร้านชำ ทั้งหมด 39 ร้าน และจากการสำรวจร้านค้า พบว่ามีร้านค้าร้านชำที่นำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านมาขายให้แก่คนในชุมชนและจากการสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับพิษภัยของยา ปรากฎว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมา
จากการดำเนินงานเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมา สามารถทำได้เพียงแค่ให้คำแนะนำและจากการเยี่ยมบ้านยังพบว่ายังมีผู้ป่วยบางรายใช้ยาปฎิชีวนะไม่ถูกต้องจากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่จึงคิดหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในชุมชนมีความชัดเจนสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการใช้ยาปลอดภัยใส่ใจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2561 และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งครอบคลุมประเด็นการใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุดและการใช้ยาสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็นเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาและสามารถการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้คนในชุมชน มีความร้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทั้งยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาเสตียรอยด์ อย่างสมเหตุและสมผล ข้อที่ 2.เพื่อให้คนชุมชนร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน เช่น ร้านค้า ร้านชำ ร้านขายยา มิให้มีการลักลอบขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฏหมาย ข้อที่ 3.เพื่อให้คนในชุมชนลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุดและยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ประชาชนมีความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น 2.เกิดเครื่อข่ายการเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมมือกันทุกภาคเครือข่าย 3.ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ร้อย ละ 95 4. การใช้ยาปฏิชีวนะใน รพ.สต. ไม่เกินร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นตอนที่ 1 สำรวจข้อมูล 1.1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์การขายยาในร้านชำ และการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เกาะใหญ่ เพื่อจัดทำโครงการ ขั้นตอนที่ 2 ติดต่อประสานงาน 2.2ติดต่อประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ส่วนราชการ บุคลากรทางการแพทย์ เช่น ผู้รับผิดชอบระดับอำเภอ เภสัชกร และ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน เช่น อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน ครูผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 3 ประชุม ชี้แจง 3.1ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกันต่อกลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนเพื่อเกิดการใช้ยาที่ปลอดภัยในชุมชนโดยผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ เช่น เภสัชกร ผู้รับผิดชอบระดับอำเภอเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน เช่น อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน ครู ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 4การอบรมให้ความรู้ 4.1 การพัฒนาศักยภาพการใช้ยาในชุมชนโดยการจัดอบรมเพิ่มทักษะและความรู้เรื่องยาปฎิชีวนะ ยาชุดและยาสเตียรอยด์ให้แก่ อสม. ในพื้นที่ 4.2จัดอบรมเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการร้านชำจำนวน 38 ร้าน ขั้นตอนที่ 5เฝ้าระวังและเยี่ยมบ้าน 5.1 เฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายในชุมชนตรวจสอบแหล่งกระจ่ายยาที่มีการสะสมยาปฎิชีวนะและยาสเตียรอยด์ (ร้านขายยา ร้านค้า ร้านชำ ในชุมชนทุกร้าน) และการกระจายความรู้ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน 5.2 เยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามการทานยาและคัดกรองผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากการใช้ยาและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 6.สรุปผลการดำเนินงาน 6.1 สรุปผลการดำเนินงานแก่กลุ่มเป้าหมายและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องและรายงานผลการดำเนินงาน
6.2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่าง กลุ่มผู้ดำเนินโครงการ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้ ชุมชนมีการพัฒนากลไกในการจัดการปัญหาของตนเอง และทบทวนประสบการณ์การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชนมีความรู้ และปฏิบัติตัวในการใช้ยาปฎิชีวนะได้อย่างถูกต้อง 2.ประชาชนในพื้นที่ รพ.สต.เกาะใหญ่ ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยามากยิ่งขึ้น
3. ครัวเรือนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เกาะใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะลดลง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้และปฏิบัติในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง 2.ประชาชนในพื้นที่ รพ.สต.เกาะใหญ่ ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยามากยิ่งขึ้น 3.ครัวเรือนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เกาะใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2561 19:07 น.