กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2542-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลูบี
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮาซามิง เจ๊ะหะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางโนรีฮา เจ๊ะมะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.008,101.849place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆ ในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติ โดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้ เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรค จากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรกษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค(Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ 90 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วย วัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS (Directly Observed Treatment System) ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยง หมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาการดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป
จำนวนผู้ป่วยวัณโรค รพ.สต.บ้านกลูบี ตั้งแต่ปี 2559-2560 ทั้งหมด 7 ราย อัตราการรักษาหาย 6 ราย และอยู่ระหว่างการรักษา 1 ราย เพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี จึงได้เร่งรัดดำเนินการโครงการป้องกันและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรค โดยการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และวิธี DOTS ในระดับชุมชน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

 

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างพลังแก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวเพื่อป้องกันวัณโรคในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบ DOTS ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเสริมสร้างพลังแก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวเพื่อป้องกันวัณโรคในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบ DOTS ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

27 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดอบรมแกนนำประจำครอบครัว 12.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.จัดอบรมแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 3.คัดกรองค้นหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในชุมชน 4.พบผู้ป่วยสงสัยส่งต่อไปยังโรงพยาบาล 5.เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคและตรวจผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วย 6.ติดตามและกำกับการกินยาแบบ DOT

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการดูแลตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (NTP) 2.แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีบทบาทในการเยี่ยมบ้านและติตามผู้ป่วยขาดนัด 3.ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการดูแลโดยกำกับการกินยาแบบ DOTS
4.แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวสามารถค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวะณโรคเชิงรุกได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2561 15:28 น.