กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 61-L3069-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่ากูโบ
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 53,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านท่ากูโบร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ม.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 10 ม.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 53,350.00
รวมงบประมาณ 53,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 241 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 198 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก
29.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่งในขณะนี้ สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทยรองลงมาคือโรคมะเร็งเต้านม โดยในปัจจุบันพบโรคมะเร็งในสตรีที่มีอายุน้อยลง สำหรับสาเหตุที่ทำให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น กรรมพันธุ์ วิถีการดำรงชีวิตซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและโอกาสเข้าถึงสถานบริการทางด้านสาธารณสุขเมื่อมีอาการของโรค โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรก โดยสตรีที่มีอายุ ๓๐-๗๐ ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกๆ เดือน และตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โดยการทำ Pap smear อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ซึ่งได้มีการทำวิจัยอย่างแน่ชัดแล้วว่าสามารถลดอัตราการเกิดและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐

439.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปีได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๙๐

439.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทันที

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๑๐๐

439.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 53.00 0 0.00
22 ต.ค. 61 จัุดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกแก่ อสม. และกลุ่มเป้าหมาย 0 53.00 -

๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำโครงการ ๒. เตรียมคลินิกบริการ - จัดทำกระบวนงานคลินิกคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก - เตรียมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ - เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ และห้องตรวจที่มิดชิด - เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการเน้นเจ้าหน้าที่สตรีเท่านั้น - กำหนดวันให้บริการสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง คือ วันพฤหัสบดี ๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. และกลุ่มเป้าหมาย ๔. กลุ่มเป้าหมายรับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกที่สถานบริการ ๕. กลุ่มเป้าหมายที่มีความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เครือข่ายชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถแนะนำกลุ่มเป้าหมายตรวจเต้านมตนเองและรับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มขึ้นกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติของเซลล์ หรือมีการติดเชื้อต้องได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์อย่างทันทีเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2561 14:30 น.