กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเมืองปาดังเบซาร์ปลอดลูกน้ำยุงลายปลอดไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L5249
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 130,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.74,100.241place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีตความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงหรือหมดไปและเพื่อเป็นการป้องกันล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง และทันท่วงทีที่เกิดโรค
เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ ตระหนักถึงความสำคัญและปัญหาของการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการป้องกันการเกิดโรคอย่างสัมฤทธิ์ผล ดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคอย่างทันท่วงที การควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด การรู้จักป้องกันตนเอง รวมถึงแนวทางการติดตามประเมินผล การประสานงานกับหน่วยงานสาธารรสุขอื่นๆในพื้นที่ อย่างเป็นระบบมีเครือข่ายบูรณาการงานร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ ส่งเสริมการอนามัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุนชน เพื่อให้ เมืองปากังเบซาร์ปลอดไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงขอความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการกับ อสม. กรรมการชุมชน หรือประชาชนทั่วไป 2.อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่อสม. กรรมการชุมชน หรือประชาชนทั่วไป 3.จัดตั้งทีมปฏิบัติงาน "ยุงลายพินาศ" ประจำชุมชน 4.กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม อาม.รวมพลังสร้างชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย กิจกรรมการสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายชุมชน รายละเอียดตามเอกสารแนบ 5.กิจกรรมสำรวจ/กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ด้วยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพ และสารเคมีพร้อมปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านเรือน ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์ 1 ครั้ง จำนวน 50 ครั้ง เป็นรายชุมชน ทั้ง 10 ชุมชน หรือ จำนวน 5 รอบ (ชุมชนละ 5 ครั้ง) 6.กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในชุมชน ปีละ 5 รอบ (รายชุมชน) เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก 7.ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว หรือรถยนต์ประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ไวนิล 8.พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายพร้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในชุมชนทันทีที่พบมีผู้ป่วยหรือสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 9.ประชุมและการปฏิบัติงานควบคุมโรค ศูนย์บัญชาการ (War room) ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ทีมปฏิบัติงาน "ยุงลายพินาศ" ทั้ง 10 ชุมชน กรณีที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ทั้งภายในเขตและภายนอกเขตเทศบาลฯ ที่ใกล้เคียง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ ปลอดไข้เลือดออก เนื่องจาก 1.จากรายงานความชุกของลูกน้ำยุงลาย โดยค่า CI = 0 และค่า HI = 0 2.จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกพบผู้ป่วยในเขตเทศบาลไม่เกิน 4 คน/เดือน 3.จากการสังเกตและสัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป พบร้อยละ 80 มีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2560 14:52 น.