บริการสุขภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการที่บ้าน
ชื่อโครงการ | บริการสุขภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการที่บ้าน |
รหัสโครงการ | 61-L7258-1-21 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 22 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 814,986.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
แผนยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560-2564 ได้กำหนดให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีการพัฒนาในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวิสัยทัศน์รากฐานการดำรงชีวิตคือ ดูแลประชาชนทุกช่วงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ลดความยากจน และเข้าถึงบริการภาครัฐ ซึ่งสอดคล้องกับแผน แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) (ตุลาคม 2559 ถึง พ.ศ. 2579) คือ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย ผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ มีนโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชนโดยการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสุขภาพทั้งระบบอย่างมีบูรณาการเชื่อมโยงในทุกระดับ จัดให้มีมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราป่วย ตาย และผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างมีบูรณาการและครบวงจร พัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชนขยายความครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาส สนับสนุนอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นเพื่อให้สามารถเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน พัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและการสาธารณสุขมูลฐานที่ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ และจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งมีนโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม โดยส่งเสริมเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีวิสัยทัศน์ "มหานครแห่งความสุข" (City of Happiness) มีพันธกิจหรือภารกิจหลัก (Mission) ภารกิจหลักที่ 6 เสริมสร้างสุขภาพและสวัสดิการของประชาชนและภารกิจหลักที่ 8 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกันพัฒนานครหาดใหญ่ ส่วนหนึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่งได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์พ.ศ. 2557-2562 ด้านการพัฒนาสังคม ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยและแผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) จากสภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ในจำนวน 103 ชุมชน พบว่ามีผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคเรื้อรังจำนวนมาก และผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังเข้าไม่ถึงบริการของรัฐ เนื่องจากปัญหาความด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ทำให้เสียโอกาสในการดูแลสุขภาพ จึงเกิดภาวะทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ให้ความสำคัญถึงปัญหาดังกล่าวจึงมีนโยบาย ส่งเสริมการดูแลสุขภาพประชาชนเชิงรุก กล่าวคือ "สุขภาพดี เริ่มที่บ้าน" โดยภารกิจหน้าที่ เน้นการบริการองค์รวมแบบเชิงรุกในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการได้เท่าเทียมกัน และสามารถดูแลประชาชนในด้านการพัฒนาสุขภาพได้ทุกช่วงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งให้การบริการองค์รวมด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม ให้ข้อมูล ให้การสนับสนุน จัดการเรียนรู้แก่บุคคลชุมชน เป็นหุ้นส่วนสุขภาพกับประชาชน ร่วมคิดร่วมทำ เสนอทางเลือก เสริมพลังอำนาจ ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของประชาชนอย่างจริงจัง จริงใจและมีมิตรภาพ เพื่อให้บุคคลเข้าใจ เชื่อมั่น ร่วมคิด ร่วมสร้าง และร่วมทำอย่างเข้าถึงและรู้เท่าทันสุขภาพ เกิดความตระหนัก สามารถดูแลสุขภาพ ทั้งยังสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องอีกด้วย สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครหาดใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เกิดระบบการดูแลกลุ่มเป้าหมายที่บ้าน ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลทั่วถึงครอบคลุม
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแลมีความรู้และมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวที่บ้าน และป้องกันการเกิดคนพิการรายใหม่ในชุมชนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควรจะป้องกันได้
|
0.00 | |
3 | เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือการจัดการสุขภาพที่บ้านของกลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล ความพึงพอใจของผู้รับบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
0.00 | |
4 | เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ และครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2561 16:32 น.