เกาะใหญ่ร่วมใจห่างไกลอัมพฤษ์ อัมพาต ปีงบประมาณ 2561
ชื่อโครงการ | เกาะใหญ่ร่วมใจห่างไกลอัมพฤษ์ อัมพาต ปีงบประมาณ 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L5171-2-22 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 18 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 9 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2561 |
งบประมาณ | 12,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางดรุณีเพชรพันธุ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.112,100.364place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและระดมพลังทั้งสังคมเพื่อแก้ไขและขจัดปัญหาดังกล่าวผ่านกระบวนการทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยพ.ศ. 2554-2563 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติเพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการเป็นเอกภาพด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดความตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคล ครอบครัวชุมชนก่อให้เกิดสังคมสุขภาวะบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ ได้ดำเนินตามนโยบายสาธารณสุข จัดให้มีดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่หมู่ที่ 1,8,9,10,11,12 และ13มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 584ราย มีภาวะโรคแทรกซ้อน 79รายโรคเบาหวาน 228รายมีภาวะแทรกซ้อน 201ราย โรความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคได้ 139คน คิดเป็นร้อยละ 23.80โรคเบาหวาน ควบคุมโรคได้ 69คนคิดเป็นร้อยละ 30.26จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในคลินิกโรคเรื้อรังและพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ เป็นแบบองค์รวม และเกิดการบูรณาการให้ผู้ป่วยและญาติดูแลตนเองได้ สามารถควบคุมภาวะอาการของโรคได้ และลดการตายจากภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการเกาะใหญ่ร่วมใจห่างไกลอัมพฤษ์อัมพาต ปีงบประมาณ 2561
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข 2.ประชาสัมพันธ์วัน เวลา และสถานที่แก่กลุ่มป่วยโดยการส่งบัตรเชิญโดยให้ อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่นำไปแจกจ่ายแก่กลุ่มพร้อมระบุว่าสะดวกเข้าร่วมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการเตรียมตัวทำกิจกรรม 3.จัดกิจกรรมในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ ตรวจสุขภาพเบื้องต้นพร้อมทำประวัติ โดยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ววัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว ตรวจเฝ้าระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงหากพบความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน จะทำการส่งตัวเข้าคลินิก “คนไทยไร้พุง” 4.จัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการลดปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยโดยมีหัวข้อดังนี้ลดหวาน/มัน/เค็มเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้การออกกำลังกายลดภาวะน้ำหนักเกินเลิก/ลดการสูบบุหรี่และการดื่มสุราและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตอบข้อซักถามข้อสงสัย แก่กลุ่มป่วย 5.การดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคไม่ได้
- กลุ่มเป้าหมาย สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
- กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลสุขภาพ และส่งต่อเพื่อรักษาอย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2561 19:14 น.