กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังคนรุ่นใหม่ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5171-2-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 5,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี เพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้านแรง หน่วยสาธารณสุขได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิก การสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบ หรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ สมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHA) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี "วันงดสูบบุหรี่โลก" (World No Tobacco Day) ขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทมุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้น เพื่อป้องกันสิทธิ์การมีสุขภาพที่ดีของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับผลกระทบจาการสูบบุหรี่ของบุคคลอ่น หรือที่เรียกว่าผู้สูบบุหรี่มือสอง (secibdary or passive smokers) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพ ร่วมมือกันก่อตั้ง "เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่" โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง สัมฤทธิผล และนำไปสู่เป้าหมาย "สังคมไทยปลอดบุหรี่" ได้ในที่สุด จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจาการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดืนอละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีทีทใช้ดองศพ) carbon monaxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก้จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ ประกอบกับในปี 2561 จังหวัดสงขลา เน้นให้มีชุมชนปลอดบุหรี่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ จังได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้หันมาตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,080.00 0 0.00
9 - 31 ก.ค. 61 1)จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2)เชิญชวนเยาวชนและประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 3)ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท./อสม. 4)รวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้ารับการอบรม 0 0.00 -
1 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดทำเอกสารคู่มือประกอบความรู้ แบบทดสอบก่อน-หลังเข้ารับการอบรม และดำเนินการตามโครงการ 0 5,080.00 -

๑.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒.เชิญชวนเยาวชนและประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ๓.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท./อสม. ๔.รวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้ารับการอบรม ๕.จัดทำเอกสารคู่มือประกอบความรู้แบบทดสอบก่อน-หลังเข้าร่วมอบรม ๖.ดำเนินการตามโครงการ ๖.๑จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๖0 คน ๖.๒ทำแบบทดสอบความรู้ก่อนการอบรม ๖.๓แจกคู่มือความรู้ พิษภัยของบุหรี่และการปฏิบัติตน ๖.๔ทำแบบทดสอบความรู้หลังการอบรม ๖.๕จัดตั้งมุมความรู้เรื่อง บุหรี่ เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่และแนะนำการควบคุมการบริโภคยาสูบและการรณรงค์เพื่อลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปและจัดตั้งมุมความรู้เรื่องบุหรี่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เยาวชนและประชาชนทั่่วไป ผู้ที่สนใจโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิก การสูบบุหรี่ 2.เยาวชนและประชาชนท่วไป ผู้ที่สนใจดดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น จากการเผยแพร่และแนะนำการควบคุมการบริโภคยาสุบและการรณรงค์เพื่อการลด /ละ /เลิกการสูบบุหรี่ 3.ในชุมชนมีมุมความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ 4.มีชมรมต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2561 19:37 น.