กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.ด้านทันตสุขภาพในชุมชน ตำบลบางเหรียง ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5171-2-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 19,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี เพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นปัญหาสำคัญในทุกกลุ่มวัย แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในประชาชนของตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียงจังหวัดสงขลา ในกลุ่มอายุต่างๆ อาทิ กลุ่มเด็กปฐมวัยเด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน และในวัยผู้สูงอายุ แล้วนั้นแต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่า ปัญหาเรื่อง ทันตสุขภาพยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของประชาชนในทุกกลุ่มอายุ หากประชาชนมีโรคทางด้านทันตสุขภาพ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ก็จะส่งผลให้สูญเสียฟันและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในองค์รวม ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาของตำบลบางเหรียง มีความครอบคลุมในเฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนประถมศึกษาเท่านั้นเนื่องจากข้อจำกัดของจำนวนทันตบุคลากรทำให้ไม่สามารถติดตามดูแลสุขภาพช่องปากในระดับครัวเรือนได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยผู้นำสุขภาพในหมู่บ้านคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน การดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านมานั้นไม่มีรูปแบบการดำเนินงานในการเป็นผู้นำด้านทันตสุขภาพที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถขยายการดำเนินงานทันตสุขภาพสู่ระดับครัวเรือนและระดับหมู่บ้านได้ ในการนี้เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนในชุมชน โดยอาศัยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมาเป็นแกนนำในการส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน จะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพด้านทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลบางเหรียง ให้มีทักษะและความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพช่องปากระดับครัวเรือน การเฝ้าระวังการเกิดโรคในช่องปาก และเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพต่อชุมชนได้กลุ่มงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.ด้านทันตสุขภาพในชุมชนตำบลบางเหรียง ปี ๒๕61 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อสร้างแกนนำ อสม.ด้านทันตสุขภาพ ในการถ่ายทอดและขยายผลเพื่อส่งเสริมงานทันตกรรมป้องกันในชุมชน ข้อที่ 2 เพื่อให้แกนนำ อสม.มีความรู้ด้านทันตสุขภาพ ข้อที่ 3 เพื่อให้แกนนำ อสม. มีทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก ข้อที่ 4 เพื่อเผยแพร่ความรู้ทันตสุขภาพในชุมชน
  1. มีแกนนำ อสม.ด้านทันตสุขภาพ ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เกาะใหญ่
  2. อสม. ตอบแบบทดสอบความรู้ผ่านการประเมินหลังการอบรม ร้อยละ 90
  3. แกนนำ อสม. สาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากได้ถูกต้อง ร้อยละ 90 ด้วยการประเมินการปฏิบัติโดยบุคลากรทันตสาธารณสุข
  4. มีสื่อให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพในทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เกาะใหญ่
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,100.00 0 0.00
5 ก.ค. 61 1. การประชุมชี้แจงโครงการ 0 0.00 -
5 ก.ค. 61 2. การอบรมแกนนำ อสม.ด้านทันตสุขภาพ 0 14,900.00 -
5 ก.ค. 61 3. การถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน 0 4,200.00 -

1.1ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อค้นหาแกนนำแต่ละหมู่บ้าน โดยผ่านที่ประชุมประจำเดือนของ อสม. กิจกรรมที่ 2 การอบรมแกนนำ อสม.ด้านทันตสุขภาพ 2.1 การทดสอบความรู้พื้นฐานด้านทันตสุขภาพ ( pre-test , post-test) 2.2 อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. จำนวน 25 คน โดยมีขอบเขตเนื้อหาในการจัดอบรม ดังนี้ - ปัญหาสุขภาพช่องปากและการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก - การดูแลสุขภาพช่องปาก - การเลือกใช้อุปกรณ์เสริมในการทำความสะอาดช่องปาก - การประเมินกลุ่มเสี่ยงและปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก - การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ - บทบาทของ อสม.และการสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชุมชน 2.3 ฐานฝึกทักษะการตรวจช่องปาก 2.4 ฐานฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก กิจกรรมที่ 3 การถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน 3.1 การถ่ายทอดความรู้ด้านทันตสุขภาพสู่เพื่อน อสม. โดยการให้ความรู้ทันตสุขภาพแก่ อสม. ในเวทีการประชุมประจำเดือนของ อสม. 3.2 การถ่ายทอดความรู้ด้านทันตสุขภาพในชุมชนผ่านสื่อทันตสุขภาพ โดยจัดให้ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.เกาะใหญ่ มีสื่อให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพทุกหมู่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม. แกนนำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลทันตสุขภาพช่องปาก ๒. อสม. แกนนำสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดและขยายผลเพื่อส่งเสริมทันตกรรมป้องกันในชุมชนได้ ๓. อสม. แกนนำสามารถตรวจหาโรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบได้ 4. มีสื่อให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2561 20:24 น.