กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 2560
รหัสโครงการ 60-L5249
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 25 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 58,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.74,100.241place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเรื่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 คน แม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่ีสูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นของมะเร็งเต้านมสามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม ดังนั้นงานศูนย์บริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 2560 ขึ้น เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ

  2. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ และประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจและกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการตรวจ

  3. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยป้ายประชาสัมพันธ์(ไวนิล),อสม.สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และนัดวัน เวลาดำเนินโครงการ

4.อสม. ติดตามกลุ่มเป้าหมายมาตรวจในวันดำเนินโครงการ

5.ดำเนินกิจกรรมตามแผนการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และแจกแผ่นพับให้สุขศึกษารายบุคคล

6.การแจ้งผลตรวจมะเร็งปากมดลูก นัดหมายมารับผลการตรวจใน 1 เดือน สำหรับรายที่ผิดปกติแจ้งผลทางโทรศัพท์ นัดมาเพื่อรับฟังและอธิบายผลการตรวจและการส่งต่อ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการคัดกรองความผิดปกติ และได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

  2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ระยะลุกลาม และลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2560 15:46 น.