กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L5171-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 50,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปิยาเรืองหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ เชื้อไวรัสเดงกี่ โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่และมักระบาดในฤดูผนเพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ไข้เลือดออกมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นโรคประจำท้องถิ่นของประเทศมากกว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความรุนแรงมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่เกิดโรคออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางถนนและทางอากาศ ทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและระหว่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่เป็นไปอย่างรวดเร็วก่อสให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรและงบประมารค่าใช้จ่ายของประเทศในแต่ละปีจำนวนมาก ทั้งที่โรคไข้เลือกออกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้หากทุกคนร่วมกันดูแลกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนของตนเอง และป้องกันยตนเองจากการถูกยุงกัด แม้ปัจจุบันหลายฝ่ายจะร่วมมือกันในการรณรงค์ และให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก แต่ปัญหาก็ยังมิได้หมดไป ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี สถานการณ์ไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2560 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาทวิทยา) ร วันที่ 6 ธันวาคม 2560 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก (DF, DHF,DSS) สะสมรวมทั้งประเทศ 48,896 ราย อัตราป่วย 74.43 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 59 ราย อัตราตาย 0.09 ต่อประชากรแสนคน จังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม 2,925 ราย อัตราป่วย 208.05 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 5 ราย อัตราตาย 0.36 ต่อประชากรแสนคน สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง ประกอบด้่วยหมู่ที่ 2,3,4,5,6 และ 7 ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน จำนวน 4 ราย อัตราป่วย 109.02 ต่อประชากรแสนคนไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต และมีผู้ป่วยสงสัยรวมถึงผู้ป่วยที่มาพักอาศัยระหว่างป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 7 ราย ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค จึงจำเป็นที่ต้องสร้างความตระหนักให้กับทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันในการป้องกันและควบคุมโรคโดยอาศัยการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเพื่อนำไปสู่ความรับผิดชอบและร่วมกันแก้ไขปัยหา และหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียบง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่ือพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก ข้อที่ 3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ข้อที่ 1.ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลือนที่เร็วเครือข่ายระดับตำบลได้รับการอบรมตามหลักสูตรพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตำบล ร้อยละ 80 ข้อที่ 2. 1)ครัวเรือนได้รับข่าวสารความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 50 2)จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ไตรมาสละ 1 ครั้ง ข้อที่ 3. 1)อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2556-2560) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 2)โรงเรียนที่มีค่า CI=0 ร้อยละ 100  3)สถานศึกษาและศาสนสถานในพื้นที่ได้รับการพ่นหมอกควันหรือละออกฝอย 2 ครั้ง/ปี ร้อยละ 100 4)บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และครัวเรือนรัศมี 100 เมตร ได้รับการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ร้อยละ 100 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,300.00 0 0.00
7 ก.ค. 61 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล 0 1,500.00 -
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 พ่นหมอกควัน/ละอองฝอยในสถานศึกษา และศาสนสถานก่อนเปิดภาคเรียน ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง 0 16,800.00 -
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 พ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกรณีเกิดโรคไข้เลือดออก 0 9,600.00 -
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดเตรียมเคมีภัณฑ์และอุปกรณ์วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมโรคให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา 0 22,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก 2.เครื่อข่ายทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล มีความรู้และความสามารถแจ้งเหตุการณ์ ความผิดปกติในพื้นที่ได้ทันเวลา 3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2561 10:48 น.