กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส
รหัสโครงการ 61-L5171-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 5,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปิยาเรืองหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) เข้ามามีบทบาทและใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวาง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นสถานการณ์อย่างชัดเจน คือ ข้อมูลปริมารการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูของกรมวิชาการเกาตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2553 มีการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากถึง 120,000 ตัน โดยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการใช้มากที่สุด ได้แก่ สารกำจัดศัตรูวัชพืช ร้อยละ 74 สารกำจัดแมลง ร้อยละ 14 สารกำจัดโรคพืช ร้อยละ 9 และอื่นๆ ร้อยละ 3 แนวโน้มการนำสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพชมาใช้ยังคมมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสารเคมีดังกล่าวจะมีหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการแสดงถึงความเป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน และทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีโดยตรง หรือกลุ่มผู้บริโภคพืชผักที่มีสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชผัก เพื่อคุ้มครองสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค เป็นบทบาทที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการลดปริมารการใช้ และการเฝ้าระวังการได้รับพิษจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นประโยชน์ในกานำข้อมูลไปให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป จากการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักระบาดวิทยา พบว่า พ.ศ. 2546-2555 มีรายงานผู้ป่วยได้รับสารพิษจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทั้งสิ้น 17,340 ราย มีรายงานเฉลี่ยปีละ 1,734 ราย อัตราป่วย 2.35 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งนอกจากจะพบรายงานมากในกลุุ่มเกษตรกรแล้วยังพบการรายงานการได้รับพิษในเด็กเล็ก ซึ่งอาจมีสามเหตุจากการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เช่น การเก็บในที่ไม่ปลอดภัย การทิ้งภาชนะบรรจะไม่ถูกวิธี หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น ในปีงบยประมาณ 2559 มีเกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้วยกระดาษ Reactive paper จำนวนทั้งสิ้น 418,672 คน พบผู้ที่ผลเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 153,905 คน คิดเป็นร้อยละ 36.76
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรมีความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเอง จากการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเกษตรกรโดยการเจาะเลือดหาระดับแอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน 103 คน ผลเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 66.02และได้เจาะเลือดซ้ำในครั้งที่ 2 หลังจากให้ความรู้และแนะนำการใช้สมุนไพรล้างพิษเป้นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผลปรากฎว่า ผลเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยลดลงจาก 68 คน เหลิือเพียง 34 คน เมื่อสิ้นสุดโครงการ ผลการเจาะเลือดหาระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสของเกษตรกรอยู่ในระดับปกติและปลอดภัย เท่ากับร้อยละ 66.99 และผลไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง เท่ากับร้อยละ 33.01 ซึ่งได้ผลที่ดีขึ้น จึงควรมีการเฝ้าระวัง และดำเนินงานให้เกษตรกรไดู้แลสุขภาพตนเองร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความรู้เรื่องสมุนไพรล้างพิษและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย ข้อที่ 2 เพื่อให้เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ด้านชีวอนามัยและสามารถแนะนำเกษตรกรได้ ข้อที่ 3 เพื่อให้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชนโดยเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  1. เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความรู้เรื่องสมุนไพรล้างพิษ การใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยและได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนแอสเตอเรสจำนวน 100 คน 2.เครอข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข ได้รับการอบรมด้านอาชีวอนามัย จำนวน 70 คน
    3.กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการทำงาน จำนวน 50 คน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,000.00 0 0.00
7 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้ 0 1,250.00 -
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ตรวจคัดกรองสุขภาพเกษตรกร ประเมินความเสี่ยงจาการใช้สารเคมี 0 2,500.00 -
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงจากากรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยและสมุนไพรล้างพิษ 3.เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถดูแลสุขภาพเกษตรกรได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2561 12:25 น.