กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
รหัสโครงการ L2496-61-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,582.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาเรียม อิสลามธรรมธาดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 28 ก.ย. 2561 43,582.00
รวมงบประมาณ 43,582.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 44 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานสุขภาพจิตโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา มีจำนวนผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่เข้ามารับบริการ เดือนละประมาณ 50 ราย โดยเป็นรายใหม่ 3-5 รายต่อเดือนผู้ป่วยทางจิตที่มารับบริการ ในโรงพยาบาลพื้นที่อำเภอยี่งอทั้งหมดในปี 2559 จำนวน 218 ราย ปี2560 จำนวน 345 ราย ในเขตรับผิดชอบของตำบลจอเบาะมีผู้ป่วยทางจิตในปี2559จำนวน 17 รายและในปี2560 ทั้งหมด 22ราย ปี2561 จำนวน52 ราย ถูกล่ามขังจำนวน 1 รายแต่ยังมีผู้ป่วยบางรายที่ยังไม่เห็นความสำคัญ ผู้ป่วยมีการรักษาไม่ต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบ ต้องกลับมาเป็นซ้ำ จากการทบทวน พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช ผู้นำชุมชน ยังไม่สามารถเจรจาต่อรองหรือให้ความช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชได้อย่างทันท้วงที ผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินทางจิตเวช หมายถึง มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและผู้อื่นในชุมชนแต่ยังไม่ถึงการรักษา ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตรุนแรงหรือมีลักษณะเสี่ยงต่อการก่อพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นการให้การพยาบาลต้องดูแลอย่างรีบด่วนเพื่อช่วยลดอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือบุคคลรอบข้าง(ปราโมทย์ และมนัส, 2552 )ดังนั้นเครือข่ายแกนนำชุมชนจึงควรมีความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือเพื่อแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆพฤติกรรมของผู้ป่วยที่รุนแรง ทำร้ายตนเอง ผู้อื่น ทำลายทรัพย์สิน ตะโกนเสียงดัง กวนโทสะบุคคลอื่นขาดการควบคุมตัวเองอย่างเห็นได้ชัดเป็นสัญญาณผิดปกติ เครือข่ายแกนนำด้านสาธารณสุขและอาสาสมัครที่ต้องมีการควบคุมสถานการณ์ เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาล
ดังนั้นงานสุขภาพจิตเชิงรุกโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาเห็นความสำคัญของการดูแลและช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและแกนนำเครือข่าย จึงดำเนินการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. อัตราการเข้าถึงโรคจิตเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อจัดทีมเจราจาต่อรองและจำกัดพฤติกรรมของแต่ละหมู่บ้านของตำบลจอเบาะ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

0.00
3 อัตราผู้ป่วยจิตเวชกลับเป็นซ้ำลดลง


ร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 43,582.00 1 43,582.00
1 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 0 43,582.00 43,582.00
  1. วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ
    1. จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้
  2. จัดประชุม ชี้แจง ระดมความคิดเห็น จากทุกภาคส่วน แจ้งแนวทางและมาตรการในการดำเนินงาน แก่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ทุกระดับ
  3. วิเคราะห์สถานการณ์และแจ้งเตือน
  4. เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ

    กิจกรรมที่ 1 พัฒนาแนวทางช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะวิกฤตและฉุกเฉินทางจิตเวช 1.ประชุมชี้แจงแกนนำเครือข่าย 2.จัดตั้งทีมเจรจาต่อรองในชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน 3.ให้ความรู้ทางวิชาการแก่ทีมเครือข่าย 4.แบ่งกลุ่มปฏิบัติการซ้อมแผนเจรจาต่อรอง 5.ใช้เครื่องมือแบบคัดกรอง ประเมินอาการ ประชาชนเบื้องต้นในชุมชนลงเยี่ยมบ้านค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้ที่มีอาการทางจิตในชุมชนแบบบูรณาการเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา กิจกรรมที่ ๒. จิตบำบัด ฟื้นฟูศักยภาพผู้ป่วยจิตเวช ๑.อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
    ๒.เกมจิตบำบัด ๓.จิตบำบัดครอบครัว ๔.สิ่งแวดล้อมบำบัด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชในสถานบริการเพิ่มขึ้น
    1. มีทีมงานแกนนำ/เครือข่ายเจรจาต่อรองจิตเวชฉุกเฉินในเขตตำบลเจาะเบาะ
    2. มีรูปแบบการดำเนินงาน กิจกรรมแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
    3. มีระบบกำกับ / ติดตามในชุมชน / ประเมินผล ในการดำเนินงานระดับปฐมภูมิแบบบูรณาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2561 11:28 น.