กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลปุโละปุโยปลอดโฟม
รหัสโครงการ 61-L3069-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ต.ปุโละปุโย
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 60,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ต.ปุโละปุโย
พี่เลี้ยงโครงการ นายวันมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 303 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุ
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตัวเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้โฟม เป็นภาชนะในการบรรจุอาหารที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า เมื่อนำกล่องโฟมไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูงหรือที่มีไขมันหรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนอาหารซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ สารสไตรินออกฤกธิ์ ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซินออกฤกธิ์ทำลายไขกระดูกทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท เป็นสารทำลายระบบสืบพันธ์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ขบวนการกำจัดโฟม ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ร้อยละ ๙๐ ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุ

303.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน แกนนำนักเรียน อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน เจ้าของตลาดนัด ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอยและผู้บริโภค ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร

ร้อยละ  ๑๐๐ ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน แกนนำนักเรียน อาสาสมัคร สาธารณสุข แกนนำชุมชน เจ้าของตลาดนัด ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และผู้บริโภค สามารถ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร

303.00
3 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนปลอดโฟมบรรจุอาหาร

มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนปลอดโฟม ๑๐๐%

303.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 60,010.00 0 0.00
10 ธ.ค. 61 อบรมให้ความรู้แก่ครูอนามัยโรงเรียน แกนนำนักเรียนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำชุมชน เจ้าของตลาด เจ้าของร้านค้า เจ้าของร้านอาหารแผงลอยขายอาหารตัวแทนผู้บริโภค 0 45,420.00 -
10 ธ.ค. 61 เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ลด ละ เลิก การใช้ ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ติดประกาศนโยบายหมู่บ้าน ทำป้ายประชาสัมพันธ์ หมู่บ้านละ ๑ ผืน จำนวน ๙ หมู่บ้าน โรงเรียนละ ๑ ผืน จำนวน ๗ โรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๑ ผืน จำนวน ๒ แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย ๑ ผืน 0 14,590.00 -

๑. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโละปุโย ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้โฟม ๒. จัดทำโครงการเสนออนุมัติ ๓. แต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน เป็นทีมติดตาม ประเมินสำรวจร้านค้า/ร้านอาหารแผงลอย ตลาดนัดโรงเรียน และชุมชน ที่ลด ละ เลิก การใช้โฟมและใช้ภาชนะอื่นในการบรรจุอาหารแทนโฟม อย่างต่อเนื่องทุก ๑ เดือน ๔. ให้แกนนำชุมชน สำรวจร้านค้า/ร้านอาหารแผงลอย ตลาดนัด โรงเรียนในพื้นที่ปุโละปุโย เพื่อสำรวจการจำหน่ายโฟมในร้านค้า ตลาดนัด และสำรวจร้านอาหารที่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ๕. อบรมให้ความรู้แก่ครูอนามัยโรงเรียน แกนนำนักเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำชุมชนเจ้าของร้านค้า เจ้าของอาหารแผงลอยขายอาหาร เจ้าของตลาดนัด ตัวแทนผู้บริโภค ๖. เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ติดประกาศนโยบายหมู่บ้าน ทำป้ายประชาสัมพันธ์หมู่บ้านละ ๑ ผืน จำนวน ๙ หมู่บ้าน โรงเรียนละ ๑ ผืน จำนวน ๗ โรง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๑ ผืน จำนวน ๒ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย ๑ ผืน ๗. คณะกรรมการชุมชน เป็นทีมติดตาม ประเมินสำรวจร้านค้า/ร้านอาหารแผงลอย ตลาดนัดโรงเรียน และชุมชนที่ ลด ละ เลิก การใช้โฟมและใช้ภาชนะอื่นในการบรรจุอาหารแทนโฟม อย่างต่อเนื่องทุก ๑ เดือน ๘. สรุปผลงานการดำเนิน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมมีความรู้ ความตระหนักถึงอันตรายของการใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ร่วมกันจึงทำนโยบายของชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ครอบคลุมทุกหมู่บ้านได้ ๒. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่ตำบลปุโละปุโยสามารถ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam) ได้ ๓. ชุมชนในพื้นที่ตำบลปุโละปุโยสามารถ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam) ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2561 11:32 น.