กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลัง อสม. ร่วมใจป้องกันภัยวัณโรค ปี 2561
รหัสโครงการ 61-5179-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 22,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจะอาเรน บินหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิภาวรรณ ชุมพร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.969,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขเป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิตในหลายๆประเทศทั่วโลกอีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นวัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ (กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข,2548) ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคประมาณ 2 พันล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต 1.90 ล้านคนในแต่ละปี ประเทศไทยมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วยสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานย้ายถิ่น แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกประเภทประมาณ 92,300 คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ 44,475 คนเป็นผู้ป่าวยที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ 12,089 ราย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ตรวจพบวัณโรคร่วมด้วย ประมาณร้อยละ 17 ในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ชนิดเสมหะ พบเชื้อจำนวน 25,966 ราย ราวมผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทมีจำนวน 53,357 ราย เสียชีวิต 2,548 ราย อัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่คิดเป็นร้อยละ 96.00 ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่มีเป้าหมายอัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ อยู่ที่ร้อยละ 85.00 ภายในปี ค.ศ.2015 มีอัตราความสำเร็จของการรักษาคิดเป็น ร้อยละ 87.00 ภายในปี ค.ศ.2015 (สำนักวัณโรคกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2553) สถานการณ์วัณโรคในตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 ถึง 2560 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 4 ราย , 11 ราย และ 8 ราย ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังคงมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความตระหนักถึงปัญหาวัณโรคในชุมชนทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้อมกันและค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ปี 2561 เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพในเรื่องของวัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้องรวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน และดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าได้รับวัณโรค รวมทั้งมีการดำเนินการส่งต่อเพื่อเข้ารักษาโดยเร็ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพได้รับความรู้เรื่องวัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง

แกนนำสุขภาพมีความรู้เรื่องวัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง สามารถถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนได้ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้ติดเชื้อวัณโรคได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา

ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองเชิงรุก ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้แกนนำสุขภาพได้รับความรู้เรื่องวัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ติดเชื้อวัณโรคได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

3 เม.ย. 62 อบรมให้ความรู้ และแนวทางการคัดกรอง 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ
1. รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยรายเก่า รายใหม่ และกลุ่มเสี่ยง
2. วิเคาระห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนการแก้ปัญหา
3. เขียนโครงการควบคุมป้องกันวัณโรค
4. ประสานวิทยากร และสถานที่ในการฝึกอบรม
ขั้นดำเนินการ
1. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรควัณโรค และแนวทางการคัดกรอง โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 110 คน
2. ค้นหาและตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้งในสถานบริการและชุมชน
3. สรุปผลการตรวจคัดกรอง หากพบผุ้ที่มีลักษณะอาการเข้าข่ายเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่จะมีการดำเนินการติดตามบุคคลนั้นมาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลิ่งชัน เพื่อดำเนินการส่งตัวไปยังโรงพยาบาลจะนะ ต่อไป
4. สรุปผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพมีความรู้ความสามารถแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง
  2. ประชาชนที่ติดเชื้อวัณโรคได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2561 11:43 น.