กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริหารสุขภาพชุมชนผ่านกองทุนสุขภาพตำบล ปี 2560
ภายใต้โครงการ ชุดโครงการ บริหารงานกลาง สปสช
รหัสโครงการ NHSO-12_60
วันที่อนุมัติ 3 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 1,800,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายสมชาย ละอองพันธุ์ หัวหน้างานงานประสานงานเครือข่ายระบบบริการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ สมชาย ละอองพันธุ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ สมชาย ละอองพันธุ์
พื้นที่ดำเนินการ กองทุนสุขภาพตำบลพื้นที่ เขต 12 สงขลา( ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2559 30 มิ.ย. 2559 800,000.00
2 1 ก.ค. 2559 31 ม.ค. 2560 1,000,000.00
3 1 ก.พ. 2560 31 มี.ค. 2560 200,000.00
รวมงบประมาณ 2,000,000.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (2,000,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (1,800,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปี 2560 พบว่า คาดการณ์จะมีเงินคงเหลือไม่ต่ำกว่า 770 ล้านบาทในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 617 แห่ง โดยเป็นเงินคงเหลือสะสมจากปี 2557-59 จำนวน 389 ล้านบาท รับการจัดสรรตามจำนวนหัวประชากร หรือโอนเพิ่มจาก สปสช.เขต 218 ล้านบาท และสมทบตามสัดส่วนแยกตามขนาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 30-60 จำนวน 110 ล้านบาท ถือเป็นการขาดประสิทธิภาพประสิทธิผลการดำเนินงานและด้านการบริหารจัดการสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ส่วนหนึ่งพบว่า เนื่องจากการตรวจสอบที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นของหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินกองทุน ฯ แต่สาเหตุสำคัญ คือ การขาดการวางแผนเชิงระบบเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ ขาดแผนงานและโครงการ ตลอดจนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แบบเชิงรุก เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบโปรแกรมสนับสนุนการบริหารกองทุนตำบลผ่านเว็บไซต์

1.พัฒนาเว็บไซด์สำหรับบริหารกองทุนสุขภาพตำบลผ่านเว็บไซต์www.localfund.happynetwork.org
2.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 617 กองทุนสามารถเข้าไปใช้งานโปรแกรมระบบสนับสนุนงานกองทุน
3.ทีมสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลสามารถใช้โปรแกรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล

2 เพื่อพัฒนากลไกทีมพี่เลี้ยงสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพตำบล

2.1 ทีมพี่เลี้ยงรายจังหวัดอย่างน้อยจังหวัดละ 10 คนรวมจำนวน 100 คน
2.2 ทีมพี่เลี้ยงรายจังหวัดลงปฏิบัติการพื้นที่จัดทำแผนงาน และโครงการใหกับกองทุนสุขภาพตำบลอย่างน้อยแห่งละ 1 ครั้ง

3 เพื่อบริหารเงินกองทุนสุขภาพตำบลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3.1 กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารจำนวนเงินคงเหลือไม่เกิน ร้อยละ 10
3.2 กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพใน 8 ประเด็นย่อย

4 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลและจัดทำนโยบายสาธารณะแนวทางทางการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลของภาคใต้
  1. เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้
  2. เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานกองทุนสุขภาพตำบล 3 โซน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การจัดเวทีวิชาการห้องย่อยประเด็นกองทุนสุขภาพตำบลในงานสร้างสุขภาคใต้
  2. การพัฒนาระบบโปรแกรมบริหารกองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้
  3. การจัดทำแผนงานกองทุนสุขภาพตำบลระดับเขตสำหรับกองทุนสุขภาพตำบลที่มีเงินเหลือเกิน 2 ล้านบาท
  4. การพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงประจำกองทุนสุขภาพตำบล
  5. การสนับสนุนการลงพื้นที่ของพี่เลี้ยงประจำกองทุนสุขภาพตำบล
  6. การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้งบประมาณผ่านกองทุนสุขภาพตำบล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารจัดการเงินคงเหลือไม่เกินร้อยละ 10 ของท้องหมด(เหลือไม่เกิน 70 ล้านบาท)
  2. เกิดกลไกพี่เลี้ยงประจำกองทุนรายจังหวัดอย่างน้อย 10 คน/จังหวัด
  3. กองทุนสุขภาพตำบลมีโครงการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน
  4. เกิดโปรแกรมสนับสนุนการบริหารงานกองทุนสุขภาพตำบลแบบออนไลน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2559 15:40 น.