กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาตำบลส่งเสริมเด็ก 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วน ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L3363-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 23,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกฤติยา พุทธานุวัติกุล
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัวและสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป พัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังภาวะโภชนการอย่างใกล้ชิด ทุก 1-3 เดือน แต่การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในหมู่บ้านยังมีปัญหาอุปสรรค เนื่องจากขาดเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ซึ่งได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก และที่วัดส่วนสูง จึงทำให้มีการประเมินคลาดเคลื่อน ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ตรงกับข้อมูลโภชนาการที่แท้จริงของเด็ก ทำให้การแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยได้ไม่ถูกต้องตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ต.บ้านนาขึ้นจากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) จึงได้จัดทพโครงการพัฒนาตำบลส่งเสริมเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน เพื่อจัดสรรเครื่องมือประเมินภาวะโภชนาการที่ได้มาตรฐาน และสร้างความตระหนักให้ครบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาข้อมูลโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน จากเครื่องที่ได้มาตรฐาน

 

0.00
2 2. ผู้ปกครองของเด็ก 0-5 ปี มีความรู้และความสามารถในการดูแลภาวะโภชนาการของเด็กได้ถูกต้อง

 

0.00
3 3. เด็ก 0-5 ปี ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ได้รับดูแลและแก้ไขอย่างต่อเนื่่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะข้อมูลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ในช่วงปีที่ผ่านมา
  2. ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ประเมินภาวะโภชนาการ ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อค้นหาหมู่บ้านที่ยังขาดเครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่องวัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน
  3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  4. ประสานงานกับ อสม. ทั้ง 3 หมู่บ้าน เพื่อเตรียมชุมชน สถานที่ เด็ก 0-5 ปี และผู้ปกครองในกลุ้มเป้าหมาย ตามวันเลาที่ออกดำเนินการ
  5. ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน
  6. ดำเนินการตามโครงการ 6.1 จัดอบรมผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ในเขตพื้นทีโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) จำนวน 150 คน 6.2 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี กรมอนามัย 6.3 ติดตามเยี่ยมในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการ 6.4 จัดทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน 6.5 สรุป/ประเมินภาวะสุขภาพของเด็ก 0-5 ปี และรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ข้อมูลโภชนาการเด็ก 0-5 ปี มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน จากเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
  2. ผู้ปกครองของเด็ก 0-5 ปี มีความรู้และความสามารถในการดูแลภาวะโภชนาการของเด็กได้ถูกต้อง
  3. เด็ก 0-5 ปี ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ได้รับการดูแลโดยการประเมินภาวะโภชนาการอย่างใกล้ชิด โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ทุก 1 เดือน และได้รับอาหารเสริมที่มีคุณภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2561 14:40 น.