โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดสงขลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 27 ตุลาคม 2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 2826 คน คิดเป็นอัตราป่วย 200.58 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 5 รายอัตรตาย 0.36 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายร้อยละ 0.18 กลุ่ม กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5 - 9 ปี และพบมากในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคืออำเภอสิงหนคร รองลงมา อำเภอเมืองและสะเดา ตามลำดับ และอำเภอสทิงพระเป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ตุลาคม 2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 3 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 80.58 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมา คือ 5-9 ปี และพบมากในกลุ่มนักเรียน สำหรับตำบลบ่อดาน ก็เป็นอีกตำบลหนึ่งที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกปี จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 3 คน คิดเป็นอัตราป่วย 57.95 ต่อแสนประชากร และจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายเดือน ยังพบลูกน้ำยุงลายทุกหมู่บ้าน ซึ่งมีค่าดัชนีลูกน้ำคิดเป็นร้อยละ 11.5 ซึ่งเกินค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10 จากค่าดัชนีลูกน้ำ จัดเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ่อดาน หากไม่มีการควบคุม ป้องกันหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ก็จะทำให้การเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลสำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆฝ่าย