โครงการสตรีตำบลป่าบอน มีสุขภาพดี ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการสตรีตำบลป่าบอน มีสุขภาพดี ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ปี 2560 |
รหัสโครงการ | 60-L2984-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ช้างให้ตก (ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน ต.ป่าบอน) |
วันที่อนุมัติ | 25 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 21,240.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนอรีดา มิดคาดี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายสันติพงษ์ สืบสม |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.701,101.116place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 117 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 117 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากที่สุดของมะเร็งในสตรีไทย พบได้ตั้งแต่วัยสาวอายุก่อน 30 ปี จนถึงวัยชราอายุ 80 ปี แต่จะพบมากในช่วงอายุ 35 – 50 ปีและพบรองลงมาคือโรคมะเร็งเต้านม ใน ปีหนึ่งๆพบว่ามีสตรีป่วยเป็นโรคนี้ทั่วโลก ทั้งที่โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ง่ายและสามารถป้องกันได้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่ำกว่า 18 ปีการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน กรรมพันธุ์ และวิถีการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค และโอกาสการเข้าถึงสถานบริการทางด้านสาธารณสุขเมื่อมีอาการของโรคโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรก โดยสตรีที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกๆเดือนและตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap smear3-5 ปี ต่อครั้ง ซึ่งได้มีการทำวิจัยแล้วว่าสามารถลดอัตราการเกิดและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขต้องคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้ได้ 80 % ภายในระยะเวลา 5 ปี(2558-2562) จากการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลป่าบอน ปี 2558คัดกรองได้ 15.54 %ปี 2559 คัดกรองได้ 21.30 % เป้าหมายคัดกรอง ปี 2560 คัดกรองให้ได้อีก 20 % (จำนวน 117 คน) แต่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักและไม่ให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองอีกมาก เพราะยังขาดความรู้ มีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องเช่นการอ้างว่าผิดหลักศาสนา ความอายต่อเจ้าหน้าที่ และด้วยบริบทพื้นที่ตำบลป่าบอนประชาชนกลุ่มเป้าหมายของตำบลป่าบอนส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการตรวจมะเร็ง ทำให้มีความอายเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ กลัวเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจจากปัญหาดังกล่าวศูนย์ส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าบอนเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก ได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมและเมื่อตรวจพบโรคแล้วได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมทันที เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้สตรีตำบลป่าบอนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
|
||
2 | เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรก
|
||
3 | เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประชุมร่วมกับ อสม.ตำบลป่าบอนในการหาแนวทางร่วมกันในการจัดทำโครงการ
- รณรงค์ในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี มารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- จัดอบรมให้ความรู้ ในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี จำนวน 581 คน คัดกรอง 20 % ของกลุ่มเป้าหมายคิดเป็น จำนวน 117 คน
- สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- สตรีกลุ่มเป้าหมาย 20 % (117 คน) มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรกและสามารถส่งต่อพบแพทย์ได้ทันที
- สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้
- อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลป่าบอนมีความรักความสามัคคีกัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 14:40 น.