โครงการเด็กตำบลป่าบอน สดใส ร่วมใจรับวัคซีนครบตามเกณฑ์
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กตำบลป่าบอน สดใส ร่วมใจรับวัคซีนครบตามเกณฑ์ |
รหัสโครงการ | 60-L2984-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลป่าบอน |
วันที่อนุมัติ | 25 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,375.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายหมัดรูดิน เจ๊ะโวะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางชนาภารัตนปรมากุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.701,101.116place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 75 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูงจึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่าเพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย
เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบาดขึ้นในจังหวัดปัตตานีเช่น โรคคอตีบซึ่งทำให้เด็กตายลงเป็นจำนวนมาก เด็กที่เสียชีวิตนั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลยแม้แต่ครั้งเดียวจึงไม่มีภูมิต้านทานโรค ในพื้นที่ตำบลป่าบอนพบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ คืออัตราการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบเพียง ร้อยละ 61.07 ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน หรือกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับวัคซีน(จากการวิเคราะห์ในเวทีประชาคม) จึงไม่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน จากการประชุมประจำเดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ว่าเด็ก 0-5 ปี ในตำบลป่าบอนขาดการมารับวัคซีนตามเกณฑ์อายุเป็นจำนวน 242 คน ดังนี้ อายุ 0-1 ปี47 คน อายุ 2-3 ปี 113 คน และอายุ 4-5 ปี 77 คน ทางเครือข่ายชุมชนตำบลป่าบอนตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนเพื่อค้นหาและนำเด็กที่รับบริการวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดมารับบริการให้ครบตามเกณฑ์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับ วัคซีน ตามเกณฑ์ร้อยละ 90
|
||
2 | เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนป้องกันโรค
|
||
3 | เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความรู้ความเข้าใจและนำบุตรมาฉีดวัคซีน
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- อสม. ออกรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่
- อสม. ติดตามเยี่ยมผู้ปกครองและเด็กอายุครบ 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์
- จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโรค และชมละครสั้นกรณีตัวอย่างเด็กเสียชีวิตด้วยโรคคอตีบ ภาษามาลายู (มีคำแปลไทยด้านล่าง)
- แจกของชำร่วยและประกาศนียบัตรแก่เด็กอายุครบ 5 ปี ที่มารับบริการฉีดวัคซีนครบกำหนดตามวัย
- ประเมินผลการดำเนินงานและติดตามทุก 3 เดือน
- เด็กอายุครบ 5 ปี ในปี 2560 ได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ
- ผู้ปกครองมีความเข้าใจเรื่องวัคซีนเพิ่มขึ้น และนำบุตรมารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเพิ่มขึ้น
- เครือข่ายในชุมชน มีส่วนร่วมในการติดตามดูแล เฝ้าระวังการฉีดวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 15:05 น.