กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนตำบลป่าบอนร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2984-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลป่าบอน
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหมัดรูดิน เจ๊ะโวะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสันติพงษ์ สืบสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.701,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ซึ่งมียุงลายบ้านเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวน มากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไปปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมี การขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะกักเก็บน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อโรคไข้เลือดออก เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนั้นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่งได้แก่การที่พื้นที่มีเชื้อโรคไข้เลือดออกชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกันหรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย
ตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราป่วยในปี 2558,๒๕๕9 เท่ากับ 532.48 ต่อแสนประชากร และ 605.4ต่อแสนประชากร ตามลำดับยังไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในการแก้ไขปัญหาของโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และ มัสยิด

 

3 เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์ของโรค และให้ความรู้ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรค ไข้เลือดออก และเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขตตำบลป่าบอน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกแจกจ่ายกลุ่มเป้าหมายทุกแห่ง
  3. จัดทำแผ่นพับให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  4. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามสถานที่กลุ่มเป้าหมาย ทุกวันศุกร์ (เดือนละ 2 ครั้ง) 5.จัดซื้อน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล เพื่อใช้ในการพ่นฆ่ายุงตัวแก่กรณีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง
    ต่อเนื่อง และสม่ำเสมออย่างถูกต้อง
  2. ชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ครูและนักเรียน มีความตระหนัก มีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีแกนนำ อสม. ในการกำจัดและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  3. ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลง ทั้งในชุมชนสถานที่ต่างๆ และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีที่ผ่านๆ มา
  4. เมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สามารถควบคุมโรคได้ในทันท่วงที ไม่มีการระบาดเป็นวงกว้าง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 15:21 น.